Search

อินเดียเข้มเก็บข้อมูลนักเคลื่อนไหวในพม่า หวั่นส่งให้รัฐบาลทหารตามเช็คบิล

สำนักข่าว RFA รายงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 66 ที่ผ่านมาว่า ทางการอินเดียในรัฐมณีปุระเริ่มทำการเก็บข้อมูลแบบไบโอเมตริกซ์ (Biometric data) หรือข้อมูลชีวภาพในหมู่ผู้ลี้ภัยจากพม่าตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กำลังทำให้ผู้ลี้ภัยจากพม่ากังวลว่า ข้อมูลของพวกเขาอาจถูกรัฐบาลอินเดียนำไปเผยแพร่ให้กับกองทัพพม่า โดยนับตั้งแต่กองทัพพม่ายึดอำนาจ ทำให้ผู้ลี้ภัยจากพม่าอพยพไปยังอินเดียราว 50,000 คน

ทั้งนี้ นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจากฝั่งพม่าที่หนีภัยไปยังอินเดียกำลังแสดงความกังวลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวของรัฐบาลอินเดีย โดยกังวลว่า รัฐบาลอินเดียจะจับกุมพวกเขาส่งมอบให้กับกองทัพพม่าจากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวดังกล่าว และเรื่องนี้จะนำไปสู่ปัญหาในอนาคต โดยชาวพม่าหลายพันคน ที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองกัมพัด ทางฝั่งพม่า ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สู้รบในบ้านเกิดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว

ผู้ลี้ภัยรายหนึ่งกล่าวว่า ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้ลี้ภัยจากพม่าต้องบันทึกลายนิ้วมือ ดวงตา ใบหน้า และเสียง การเก็บข้อมูลแบบไบโอเมตริกซ์ คือการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนำลักษณะเด่นทางกายภาพหรือทางพฤติกรรมของบุคคลมาใช้ ทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นได้ โดยประชาชนจากพม่าที่ถูกกักขังภายในศูนย์เป็นกลุ่มแรกๆที่ถูกเก็บรวบรวม ขณะที่ชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกศูนย์ต้องไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจท้องถิ่นในฐานะแรงงานเพื่อให้ข้อมูลกับทางการอินเดีย 

ผู้ลี้ภัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่า หลายคนรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะกังวลว่าข้อมูลไบโอเมตริกซ์อาจถูกนำมาใช้ต่อต้านต่อพวกเขาเอง นอกจากนี้ พวกเขายังกังวลว่า รัฐบาลอินเดียจะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และผู้ลี้ภัยจากพม่าอาจถูกกวาดล้าง ในช่วงที่กำลังเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างคนท้องถิ่นในรัฐมณีปุระอยู่ขณะนี้ นั่นคือระหว่างชาวชาติพันธุ์เมเต(Meitei) และชาติพันธุ์กุกิ (Kuki)

มีรายงานว่า ชาติพันธุ์กุกิให้การปกป้องผู้ลี้ภัยจากพม่า ขณะที่ผู้ลี้ภัยจากพม่าก็มีท่าทีให้การสนับสนุนชาติพันธุ์กุกิ ซึ่งเรื่องนี้ ทางการอินเดียอาจมีข้อกังวลว่า ผู้ลี้ภัยอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นในอินเดีย เช่นเดียวกัน ผู้ลี้ภัยจากพม่าเองก็มองว่า เรื่องนี้อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติที่ไม่ดีต่อผู้ลี้ภัยจากพม่าได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน 

Salai Dohka เจ้าหน้าที่ขององค์กรในอินเดียที่ชื่อว่า India for Myanmar กล่าวกับ RFA ว่า  ข้อมูลไบโอเมตริกซ์สามารถช่วยให้สามารถจับกุมผู้ลี้ภัยที่เป็นบุคคลที่ต้องการโดยรัฐบาลทหารพม่าได้

“นักเคลื่อนไหวทางการเมืองของพม่า ซึ่งรัฐบาลทหารพม่ามองว่าเป็นอาชญากรที่หลบภัยในอินเดียอาจถูกส่งกลับไปยังพม่าในรูปแบบการแลกเปลี่ยนนักโทษ นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลว่า ผู้ลี้ภัยชาวพม่าอาจถูกกล่าวหาว่า เสพสิ่งเสพติดและก่ออาชญากรรม และอาจถูกใช้เป็นแพะรับบาปในข้อพิพาทขัดแย้งระหว่างคนชาติพันธุ์ ทั้งที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองในอินเดีย” เขากล่าว

อีกด้านหนึ่ง สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNOCHA) ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีประชาชนชาวพม่าเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านคน ต้องอพยพออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด เนื่องจากสถานการณ์สงครามและความไม่ปลอดภัยในชีวิต นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในพม่าเมื่อ 2 ปีก่อน

On Key

Related Posts

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →

ลาวดำเนินคดีอดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าลาว-ผู้รับเหมาฐานฉ้อโกงเหตุสร้างเขื่อนไม่แล้วเสร็จ-เกินเวลานาน เผยโครงการได้รับสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 สำนักข่าวลาว Laotian TiRead More →