Search

เรื่องกล้วยที่ไม่กล้วย อุตสาหกรรมกล้วยจีน ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

หนังสือเล่มหนึ่งที่กำลังออกเผยแพร่มีเนื้อหาน่าสนใจ “ทุนนิยมการเกษตร สวนกล้วยจีน ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง:ลาวและเมียนมา” เขียนโดยอาจารย์เสถียร ฉันทะ ม.ราชภัฎเชียงราย พิมพ์โดยศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มช.

หนังสือเล่มนี้ปรับแต่งจากงานวิจัยเรื่องการทำสวนกล้วยย้ายที่ของชาวจีนและผลกระทบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:กรณีศึกษาลาวและเมียนมา ซึ่งเป็น 1 ในโครงการชุดวิจัยที่มี ศ.ยศ สันตสมบัติ เป็นหัวหน้าคณะ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เจาะลึกตั้งแต่การเคลื่อนย้ายทุนจีนมาลงทุนทำสวนกล้วยในลาวและพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ขณะที่รัฐบาลลาวและรัฐบาลพม่าต่างให้การต้อนรับเป็นอย่างดี แต่มีวัตถุประสงค์ลึกๆที่ไม่เหมือนกัน

“ลาวเปิดรับการลงทุนจากจีนโดยตรงโดยเฉพาะการลงทุนทางการเกษตรและพัฒนาในภาคเหนือของลาว แม้งบการลงทุนจะน้อยกว่าธุรกิจบริการ ธนาคาร พลังงานและเหมืองแร่ แต่มีผลกระทบกว้างขวางมากกว่า….”

ผู้เขียนหนังสือได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์พ่อค้าจีนที่เช่าที่ดินปลูกกล้วยในแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่ให้สวนกล้วย รวมทั้งเจ้าของที่ดินที่ให้เช่า ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

“อำนาจละมุน คือปฏิบัติการรูปแบบใหม่ที่จีนนำมาใช้ในการขยายอิทธิพลผ่านวิธีการและรูปแบบต่างๆในการเข้ามามีอำนาจเหนืออธิปไตยในดินแดนของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยความยินยอมพร้อมใจของรัฐบาลจของประเทศปลายทางผ่านวาทกรรมความร่วมมือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เราจึงเห็นข้อตกลงมากมายที่เกิดขึ้น…..”

รัฐบาลลาวได้เปิดพื้นที่ให้ทุนจีนเข้ามาสัมปทานที่ดินเพื่อลงทุนทำสวนกล้วยตั้งแต่ ค.ศ.2008 ผ่านไป 10 ปีลาวมีการส่งกล้วยออกเป็นอันดับที่ 30 ของโลก หรือราว 9 แสนตัน แต่ตัวเลขที่หรูหราเหล่านี้กลับไม่คุ้มค่ากับผลกระทบที่ประชาชนท้องถิ่นในลาวได้รับ เพราะการใช้สารเคมีที่เข้มข้น ทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะที่การเสียภาษีให้กับรัฐเพียงเล็กน้อย 2% ในที่สุดหลายแขวงของลาวจึงยุติการขยายสัมปทาน และกลายเป็นบทเรียนอันเจ็บปวดจากทุนนิยมจีน

ขณะที่สวนกล้วยจีนในพม่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งมีพื้นที่ติดกับจีน ทั้งนี้จีนเป็นหุ้นส่วนต่างชาติที่สำคัญสุดของพม่าในแทบทุกด้าน ตั้งแต่แหล่งการลงทุนหลัก การคุ้มครองทางการทูตที่คอยปกป้องช่วยเหลือในเวทีโลก โดยการลงทุนของจีนในพม่าเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา ตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ธุรกิจการเกษตรจีนที่เข้ามาลงทุนในรัฐคะฉิ่นเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นในช่วงปี 2000 คืออุตสาหกรรมเกษตรสวนกล้วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาความต้องการบริโภคกล้วยในจีนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การทำสวนกล้วยจีนในลาวได้รับการต่อต้านจากชาวบ้าน ซึ่งเดิมทีจีนต้องการนำกล้วยหอมจากฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเกิดข้อพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ทำให้การนำเข้าจากฟิลิปปินส์ลดลงถึง 30% จึงทำให้พื้นที่คะฉิ่นกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของการลงทุนสวนกล้วย

การลงทุนอุตสาหกรรมปลูกกล้วยจีนในรัฐคะฉิ่นเริ่มจริงๆเมื่อปี 2006 และขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ ไปยังเมืองต่างๆ โดยในปี 2015 พบว่าที่เมืองโว่งหม่อเป็นพื้นที่ปลูกกล้วยจีนมากที่สุดในรัฐคะฉิ่นและเป็นศูนย์กลางการปลูกกล้วยจีนที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมา

“อุตสาหกรรมสวนกล้วยจีนที่เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่นเป็นอานิสงส์หรือมรดกที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เชื่อมโยงกับกองกำลังทหารเมียนมา กองกำลังติดอาวุธ ผู้ประกอบการค้า และนักลงทุนจีน ซึ่งเป็นกระบวนการภายในเมียนมาที่ต้องการควบคุมทางการเมืองและดินแดนรัฐคะฉิ่นเกี่ยวข้องกับการแย่งชิงระหว่างกองทัพเมียนมา กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force :BGF) และกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น(KIA)…”

ในหนังสือได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มทุนจีนที่เข้ามาลงทุนทำสวนกล้วยจีนว่ามีกี่กลุ่ม ใครเป็นใคร

ทั้งสวนกล้วยจีนในคะฉิ่นและในลาว มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเข้มข้นโดยสารเคมีทั้งหมดถูกนำเข้ามาจากจีนเช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือส่วนใหญ่เป็นสารเคมีอันตรายที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้ว เช่น พาราควอต สารกำจัดแมลงหลายชนิด โดยสารเหล่านี้ได้ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม ไหลลงแหล่งน้ำทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบในวงกว้างและลึกซึ้ง

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งในหนังสือเล่มนี้มีคำสัมภาษณ์ชาวบ้าน ทั้งในลาวและในคะฉิ่น ซึ่งมีทั้งเหยื่อสารเคมีและเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการแรงงานในสวนกล้วยจีน

หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจอุตสาหกรรมสวนกล้วยจีนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่พัวพันไปถึงเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม “เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย”

อนึ่ง ในวันที่ 15 กันยายน 2566 จะมีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แม่น้ำโขงกับการพัฒนา:เขื่อนและสวนกล้วย”ขึ้นที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ระหว่างเวลา 11.00-14.30 น. โดยพบกับ ผศ.ดร.เสถียร ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ในหัวข้อ “ภาคประชาชนในลุ่มน้ำกก อิง โขง กับการพัฒนาข้ามแดน” โดยมีนายสืบสกุล กิจนุกร และผศ.ปฐมพงศ์ มโนหาญ จากสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมเสวนา

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →