Search

หวังพึ่งไทยช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ชาวคะเรนนีกว่า 2.5 แสนคนพลัดถิ่น

นาย Bunya Aung กรรมการฝ่ายสิทธิมนุษยชน สภาบริหารรัฐคะเรนนีชั่วคราว (Interim Executive Council of Karenni State-IEC) กล่าวในระหว่างการเสวนาออนไลน์เรื่อง “สถานการณ์ในรัฐคะเรนนี” เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่า ทหารพม่าปฏิบัติการอย่างโหดเหี้ยมกับประชาชนในรัฐคะเรนนี โดยเฉพาะหลังรัฐประหารในพม่าเมื่อปี 2564  มีการโจมตีส่งผลให้ประชาชนในเมืองต่างๆ ของรัฐคะเรนนีต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นสูงถึง 250,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายพักพิงตามป่าอย่างน้อย 200 แห่ง 

กรรมการฝ่ายสิทธิมนุษยชนคะเรนนีกล่าวว่า พื้นที่พรมแดนติดประเทศไทยสำคัญกับประชาชนคะเรนนีที่สุด ในฐานะช่องทางสำคัญในการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (humanitarian corridor) เพราะปีที่ผ่านมาในรัฐคะเรนนีทุกเส้นทางถูกตัดโดยกองทัพพม่า มีการควบคุมการขนส่งเรียกได้ว่าปิดตาย ไม่ว่าจะเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร และของจำเป็น ต้องส่งไปจากชายแดนไทย ไทยจึงเป็นส่วนสำคัญของความอยู่รอดของคะเรนนี ซึ่งตลอดมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม การค้า แต่หลังรัฐประหารในพม่ามีการปิดด่านพรมแดนเนื่องจากความไม่สงบ

นาย Bunya Aung กล่าวว่าสำหรับสถานการณ์ด้านการทหาร ตั้งแต่การเปิดศึกของกองทัพคะเรนนี (Karenni Army) จับมือกับกองกำลังร่วม ทำให้กองทัพพม่าได้สูญเสียฐานใน 3 เมือง แต่ก็มีการส่งกำลังมาเพิ่มอีก 2 กองพันโดยมาจากรัฐฉานตอนใต้ และมีการใช้เครื่องบินรบอย่างต่อเนื่องทำให้สถานการณ์น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง

“การโจมตีประชาชนโดยกองทัพพม่า ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนคะเรนนีจำนวนหนึ่งต้องหนีมาใกล้ชายแดน หรือข้ามมาฝั่งไทยเพื่อเอาชีวิตรอด สำหรับเราที่ทำหน้าที่บรรเทาทุกข์ คำถามหลักคือ ทำอย่างไรที่จะมีช่องทางการทำงานส่งความช่วยเหลือข้ามพรมแดนได้ เพื่อให้ประชาชนของเรายังคงอยู่ได้ ซึ่งในรัฐคะเรนนี เราเองได้พยายามจัดการบริหารของเราเอง มี Interim Executive Committee (IEC) ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่ายของชาวคะเรนนี ทั้งเยาวชนและสตรี และทำงานกับหน่วยงานต่างๆ สถานการณ์ในรัฐคะเรนนี เวลานี้คือระบบเศรษฐกิจแทบจะล่มสลายโดยสิ้นเชิง ประชาชนจำเป็นต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือน จำนวนมากหนีอยู่ตามค่ายพักพิงในป่า ในฤดูฝนนี้เราต้องการผ้าใบสำหรับสร้างที่พักให้แก่ผู้พลัดถิ่น อย่างน้อย 30,000 ครอบครัว บางทีต้องหนีกันหลายครั้งเพราะทหารพม่าโจมตีอยู่ตลอด” นายบันยา กล่าว 

ฝ่ายสิทธิมนุยชนคะเรนนีกล่าวอีกว่า การส่งความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านมนุษยธรรมเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะหน้า และองค์กรของชาวคะเรนนีก็ได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนามนุษย์ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กๆ แต่กองทัพพม่าได้ทิ้งระเบิดโรงเรียนแทบทุกแห่ง กว่า 200 อาคารสาธารณะทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล โบสถ์ กลายเป็นเป้าของเครื่องบินรบพม่าที่ทิ้งระเบิดลงมาทำลาย การเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นไปไม่ได้ เราต้องสอนเด็กๆ ในป่า ซึ่งเรามีงบประมาณน้อยมาก แทบไม่มีเลย แต่เด็กๆ ของเราต้องเติบโตและต้องมีการศึกษาแม้ว่าจะอยู่ระหว่างสถานการณ์สงครามก็ตาม เราต้องทนเห็นเด็ก ประชาชน ถูกทำร้าย เสียชีวิต บ้านเรือน โบสถ์ โรงเรียน ถูกถล่มอย่างต่อเนื่อง สิทธิมนุษยชนของเราถูกทำลายย่ำยี หากมีเพียงการสนับสนุนแม้จะน้อยนิดเราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด

นางสาวยามินอู ผู้ประสานงานเครือข่ายคะเรนนีในออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผ่านมาเครือข่ายในออสเตรเลียได้ทำงานประสานงานกับภาคประชาชน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและการบริจาคเพื่อให้การสนับสนุนบรรเทาทุกข์และด้านอื่นๆ เช่น การศึกษาของเด็ก

ทั้งนี้ข้อมูลรายงานสถานการณ์ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา ของกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ระบุว่ามีจำนวนผู้หนีภัยพำนักอยู่จำนวน 7,659 คน ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว 5 แห่ง ใน อ.แม่สะเรียง อ.ขุนยวม และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →