Search

พม่ากระแสโต้กลับ คนหนุ่มสาวมุ่งเข้ากองทัพฝ่ายต่อต้าน-หนีเข้าไทย กลุ่มพลังเงียบตีจากไม่อยากเข้ากองทัพตัดมะดอว์ นักสิทธิ์แนะรัฐไทยเร่งรับมือ คาดสัปดาห์หน้าทะลักไทย

หนุ่มสาวพม่ายืนรอทำวีซ่าหน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้งยาวเหยียด

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลทหารพม่าบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารเข้มข้นขึ้นเพื่อให้มีกำลังพลมาใช้ในการสู้รบมากขึ้น จนทำให้คนวัยหนุ่มสาวพากันหนีออกนอกประเทศพม่าโดยจำนวนมากมุ่งมายังประเทศไทยว่า การประกาศใช้กฎหมายบังคับเกณฑ์ชาวพม่าทุกคน แม้จะมีความต้องการอยู่ประมาณ 50,000 คน แต่อย่างไรก็ตามจะส่งผลให้ประชาชนชาวพม่าที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากและรัฐบาลมิน อ่อง ลาย ประกาศปฏิเสธการทำพาสปอร์ตให้กับประชาชนชาวพม่าและกระบวนการในการเดินทางออกนอกประเทศจะเริ่มยากขึ้นและส่งผลให้ชาวพม่าลักลอบเข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นเพราะชาวพม่ามีความเสี่ยงอย่างมาก

นายอดิศรกล่าวต่อว่า แม้ว่าจะมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ 1. ถ้าไม่ต้องการเข้ารับการเกณฑ์ทหารกับกองทัพพม่าจะต้องเข้าไปอยู่กับกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) 2.เข้าไปอยู่กับชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ 3.อพยพหนีเข้ามาทำงานในประเทศไทยที่เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากที่สุด และแน่นอนว่าจะมีคนพยายามหาทางเพื่อลักลอบเข้ามาให้ได้ ซึ่งจะส่งผลการเข้ามาอย่างผิดกฎหมายและกระบวนการของนายหน้าทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องการค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยจะต้องจัดการกับสถานการณ์กับผู้อพยพชาวพม่าซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มที่เข้ามาในไทยให้เป็นระบบ 1.กลุ่มแรงงานพม่าที่จะเข้ามาใหม่ แน่นอนว่าเรามีความต้องการแรงงานเพียงแต่ว่ายังไม่ชัดเจนนักว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และควรจะมีกระบวนการที่จะเปิดช่องให้เขาเข้ามาในการจดทะเบียนในระดับหนึ่ง

หนุ่มสาวพม่ายืนรอทำวีซ่าหน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้งยาวเหยียด

นายอดิศรกล่าวต่ออีกว่า 2.กลุ่มแรงงานพม่าที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วและต้องกลับไปทำเอกสารหรือหนังสือเดินทางในการทำงาน ในกรณีนี้มีปัญหาอยู่พอสมควรเพราะว่าคนงานที่อยู่ในไทยจำนวนมากเริ่มไม่มั่นใจว่าหากตนกลับไปจะถูกจับกุมหรือถูกจับไปเกณฑ์ทหารหรือไม่ คนงานกลุ่มนี้จึงมีข้อเสนอว่า ให้เขาสามารถใช้บัตรชมพูในการอาศัยและทำงานอยู่ในไทยได้ แทนที่จะไปทำหนังสือเดินทางในประเทศพม่าซึ่งมีอายุค่อนข้างสั้นเพราะมีระยะเวลาเพียง 5 ปี  3.กลุ่มที่เป็น MOU นำเข้า ที่มีสัญญา 2 ปี ต่ออีก 2 ปี พอ 4 ปีกลับบ้านภายใน 30 วัน ซึ่งสิ่งที่เราเจอในคนกลุ่มนี้คือพอกลับบ้านแล้วหายไปเลยไม่สามารถติดต่อได้

นายอดิศรกล่าวว่า ในสิ่งที่เราทราบคือพอข้ามกลับประเทศจะมีกระบวนการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือว่ามีภาพถ่ายหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่และโอกาสที่จะถูกจับกุมไปเกณฑ์ทหาร ที่มี 2 แบบคือ 1.ไปเป็นทหาร 2.ไปเป็นลูกหาบหรือเป็นด่านหน้าของการสู้รบ และผู้อพยพต่างก็กลัวทั้งสองแบบ ฉะนั้นกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้วิธีการเดียวกันกับกลุ่มแรกให้ขยายต่อในการอยู่ในประเทศไทยไปก่อนอย่างน้อย 2 ปีเพื่อรอให้สถานการณ์กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

“แรงงานชาวพม่าทั้ง 3 กลุ่มต่างมีข้อกังวลในเรื่องการเก็บภาษี 2 % เข้าประเทศเพื่อเข้ากองทัพพม่า สิ่งที่น่าสนใจคือ รัฐไทยต่างมองเห็นปัญญานี้สักพักใหญ่ ทั้งกระทรวงแรงงาน ทั้งฝ่ายความมั่นคง และสัดส่วนคนที่ลักลอบเข้ามาก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพียงแต่ว่าแต่กลับไปไม่มีมีมาตรการอะไรมารองรับและกระบวนการในการวิเคราะห์ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจนใดๆ เลย เพราะคนที่อพยพข้ามชาติย้ายถิ่นฐานมีลักษณะของการผสมระหว่างคนที่ตั้งใจมาทำงานเป็นแรงงาน กับคนที่หนีภัยการสู้รบหรือความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับตนเองเข้า ถ้าเกิดระบบการจัดการเราไม่มองเห็นมิติดังกล่าว จะทำให้เราแยกไว้ว่ากลุ่มนี้คือกลุ่มทำงาน กลุ่มนี้หนีภัยหรือบางทีก็ไม่แยกโดยเหมารวมทั้งหมดว่าเป็นคนงาน จะทำให้มีผลต่อการส่งตัวกลับประเทศและการกำหนดในสถานะในการอยู่ในประเทศไทย ฉะนั้นจะต้องตั้งต้นกระบวนการให้ดีและจะจัดการความเสี่ยงในฐานะอะไรและปัจจัยอะไรที่ทำให้เขากลับประเทศได้หรือไม่ได้”นายอดิศรกล่าว

หนุ่มสาวพม่ายืนรอทำวีซ่าหน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้งยาวเหยียด

นายสุรัช กีรี นักกิจกรรมแรงงานพม่าในประเทศไทย กลุ่ม Bright Future กล่าวว่า การที่ “ตัดมาดอว์” ประกาศเกณฑ์ทหาร ทำให้กลุ่ม PDF ที่อยู่ในย่างกุ้งประกาศรับคนที่ไม่ต้องการเข้ากับกองทัพพม่า และสะท้อนให้เห็นเลยว่าภายใน 24 ชั่วโมงมีรายชื่อขอเข้าร่วมมากกว่า 2,000 คน ทั้งนี้กลุ่มชาติพันธุ์อย่างรัฐคะฉิ่นต่างก็ประกาศว่าถ้าไม่ต้องการเข้ากับรัฐบาลทหารพม่าก็สามารถเข้าร่วมกับพวกเขาได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อ้าแขนต้อนรับ ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าพล.อ.มิน อ่อง ลาย ไม่มีทางสู้และกำลังพ่ายแพ้เพราะประชาชนหลายล้านคนต่างไม่ต้องการอยู่ภายใต้อำนาจของเผด็จการและพร้อมที่จะโค่นล้มอำนาจคืนสู่ประชาชนและเขามีความหวังว่าปฏิวัติครั้งนี้จะเป็นการปฏิวัติครั้งสุดท้าย

“แม้ว่าที่ผ่านมาอาจจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการอยู่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ใด แต่เมื่อมีกฎหมายฉบับล่าสุดออกมาจึงอยู่ในสภาวะที่ชาวพม่าต้องเลือกแล้ว เพราะมีการไล่จับกุมคนที่หนีการเกณฑ์ทหารอย่างเช่นพื้นที่พะโค พื้นที่สกาย แม้กระทั่งย่างกุ้งและมัณฑเลย์ก็โดนเช่นเดียวกัน ประชาชนชาวพม่าที่ไม่ต้องการเข้ากับ PDF ก็ต้องเลือกที่จะอพยพหนีภัยมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นมหาศาล แม้ว่าจะไม่ได้เข้ามาเป็นแรงงานในไทยแต่ต้องเอาตัวรอดจากภัยสงครามและชาวพม่าต่างมีความไว้ใจชาวไทยด้วยกันเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับการต้อนรับจากรัฐบาลไทยมากนัก”นายสุรัชกล่าว

แหล่งข่าวชายแดนไทยด้านตะวันตกเปิดเผยว่า ขณะนี้คนหนุ่มสาวที่ไม่ต้องการเป็นทหารพม่าจำนวนมากกำลังเดินทางมุ่งหน้าชายแดนไทยเพื่อหลบหนีเข้ามาทำงานในไทย ทั้งที่เป็นชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ตามเมืองใหญ่ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีการลักลอบเข้าประเทศไทยครั้งใหญ่ ทำให้นายหน้าค้าแรงงานต่างเพิ่มค่าหัวส่งแรงงานเข้าประเทศไทยสูงขึ้นมาก

หนุ่มสาวพม่ายืนรอทำวีซ่าหน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้งยาวเหยียด
On Key

Related Posts

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →

สนามรบในรัฐกะเหรี่ยงเดือด ทหารพม่าใช้เรือส่งกำลังพลเสริมทางแม่น้ำจาย หลังถูกปิดล้อมค่ายใหญ่ในเขตกอกะเร็ก KNUออกประกาศเตือนชาวบ้านเลี่ยงเดินทาง หวั่นตกเป็นเป้าทหารพม่า

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ชาวเมืองล่าเสี้ยวสุดเซ็ง ทัพโกก้างคืนเมืองล่าเสี้ยวให้ทัพพม่า-เล่นเกมอำนาจการเมืองกัน เปรียบเหมือนหมาแย่งบอลแต่ชีวิตชาวบ้านไม่มีอะไรเปลี่ยน

สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 25Read More →

ผู้เชี่ยวชาญหวั่นผลกระทบสารหนูในน้ำกก-น้ำสายกระจายตัววงกว้าง-รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบแก้ที่ต้นทาง ชี้เป็นสารพิษสะสมก่อเกิดมะเร็ง จี้ ทส.ตั้ง กก.เฝ้าระวัง-ตรวจผลอย่างน้อยทุกเดือน เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารทำหนังสือประสานพม่าร่วมแก้ไข

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวRead More →