Search

วิจารณ์ทางการไทยผลักดันกลับผู้หนีภัยการสู้รบ ไม่ตรวจสอบพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ 

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 นายศุภชัย สังขละวิริยะ ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 บ้านใหม่พัฒนา ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีผู้อพยพชาวมอญจากฝั่งเมียนมาจำนวนมาก หนีภัยการสู้รบข้ามแดนเข้ามาพักพิงชั่วคราวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมห่างจากหมู่บ้านประมาณ 10 กิโลเมตร เมื่อมีชาวบ้านไปพบเห็น จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยตนได้สอบถามชาวบ้านพบว่า หมู่บ้านของพวกเขาถูกทหารพม่าโจมตี มีการใช้ระเบิด และเผาบ้านเรือน จึงจำเป็นต้องหนีตายด้วยการเดินเท้ามาตามป่า 3-4 วัน 

“ผมสังเกตว่า ในกลุ่มผู้อพยพส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง เด็ก และผู้สูงอายุ มีผู้ชายเพียงไม่กี่คน มากันเป็นกลุ่มครอบครัว มีสัมภาระเล็กน้อย เป็นเสื้อผ้าติดตัวเพียงคนละ 1-2 ชุด” นายศุภชัย กล่าว 

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ยอมให้ชาวบ้านพักค้างแรม 1 คืน จากนั้นได้ผลักดันให้กลับออกจากเขตแดนไทย เนื่องจากไม่สามารถอนุญาตให้พักพิงเป็นเวลานานได้ อีกทั้งในพื้นที่ ต.หนองลู ไม่มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงไว้รองรับผู้อพยพ 

ขณะที่องค์กรภาคประชาชนประกอบด้วย เครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน เครือข่ายประชากรข้ามชาติ และเครือข่ายสิทธิผู้ผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ออกแถลงการณ์ต่อกรณีทางการไทยผลักดันผู้หนีภัยสงครามชาวเมียนมาออกจากพื้นที่ปลอดภัยในเขตประเทศไทย โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 25 ชาวบ้านในฝั่งเมียนมา ประมาณ 150 คน อพยพหนีภัยเข้ามายังฝั่งประเทศไทยในพื้นหมู่บ้านเกริงกราง ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และต่อมาหน่วยทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ได้เข้าดำเนินการกดดันและผลักดันผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภ.สม.) กลับออกไปยังประเทศต้นทางโดยที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ความปลอดภัยที่ชัดเจน 

“พวกเรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการให้ความช่วยเหลือและประเมินความปลอดภัยเพื่อการส่ง ผภ.สม.กลับคืนภูมิลำเนาในประเทศเมียนมาภายใต้สถานการณ์ในเมียนมาที่ยังแนวโน้มเกิดความไม่สงบได้ทุกเวลา และการดำเนินการผลักดัน ผภ.สม.ที่ไม่ได้มีความประเมินปลอดภัยที่เป็นกลาง ไม่ได้รับความยินยอมจาก ผภ.สม.อาจเป็นการละเมิดหลักการไม่ส่งกลับไปสู่อันตราย (principle of non-refoulement) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ทุกประเทศต้องเคารพ”แถลงการณ์ระบุ

แถลงการณ์ระบุว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนดังต่อไปนี้ 1. ขอให้รัฐบาลไทยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นโดยให้ยุติการส่งกลับไปสู่อันตรายในทุกกรณี 2. ขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดการแต่งตั้งประธานคณะทำงานเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องจากความไม่สงบในเมียนมาเพื่อดำเนินการแก้ไขผลกระทบโดยเร่งด่วน 3. ขอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินการกำชับและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการ (SOP) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดแนวชายแดนไทย-เมียนมา 4. ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดและประกาศใช้แนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการ (SOP) กรณีชาวเมียนมาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยตามแนวชายแดน อันเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาฉบับปรับปรุงแก้ไข 

———-

On Key

Related Posts

ผวาเหมืองทองเกลื่อนน้ำกก กองกำลังว้าจับมือจีนขุดแร่ทำลำน้ำขุ่น ชาวท่าตอนผวาเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลไทยปกป้อง หวั่นสารพิษปนเปื้อนลงสายน้ำแหล่งประปาของคนเชียงราย

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 น.ส.หอม ผู้ประสานงานมูลRead More →

เพลงชาติกะเหรี่ยงดังกระหึ่มแม่น้ำสาละวินหลังปลอดทหารพม่าในรอบกว่า 20 ปี ชาวบ้าน 2 ฝั่งแดนร่วมจัดงานวันหยุดเขื่อนคึกคักหลังพื้นที่ปลอดทหารพม่า “ครูตี๋”ใช้บทเรียนแม่น้ำโขงถูกทำลายปางตายแนะชุมชนสู้

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่บริเวณหาดทรายริมแม่นRead More →