
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องประชุมโรงแรมเดอะวัน จ.บึงกาฬ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะสำนักเลขาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (TNMC) ได้จัดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว ระหว่าง 13-14 ก.พ. ซึ่งเป็นเวทีครั้งที่ 4 หรือ เวทีสุดท้ายของโครงการ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวกับตัวแทนเครือข่ายที่เข้าร่วมเวทีว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าสานะคามห่างจากพรมแดนไทย 2 กิโลเมตร ซึ่งข้อคิดเห็นจากเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ง 4 เวที เช่น ความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ การกัดเซาะตลิ่ง ปลาจะขึ้นไปวางไข่เหนือเขื่อนยาก แก่งคุ้ดคู้จะหายไป การเปลี่ยนแปลงของนิเวศแม่น้ำโขง อาชีพเกษตรริมฝั่งโขง การรองรับแผ่นดินไหวของเขื่อน ดินตะกอน การเปลี่ยนแปลงร่องน้ำลึกพรมแดน ล้วนเป็นผลกระทบหรือข้อกังวลต่อโครงการเขื่อนสานะคาม ซึ่งจะมีการสรุปรวมในเอกสารตอบกลับ (Reply Form) เพื่อำิจารณาเป็นแถลงการณ์ร่วมตามกระบวนการต่อไป
จากนั้นทาง สทนช.ได้นำเสนอผลสรุปจากเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 4 ครั้ง และนำเสนอร่างเอกสารตอบกลับให้ภาคประชาชนได้ร่่วมกับนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม
นายกฤษกร ศิลารักษ์ ภาคประชาชน จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าปลาแม่น้ำโขงที่มีอยู่ 1,600 ชนิด จะสามารถว่ายผ่านเขื่อนได้ อาจมีเพียง 20 ชนิดที่ผ่านขึ้นไปวางไข่ได้ อีกทั้งจะเกิดปัญหาการพังทลายของตลิ่งจากความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของกระแสน้ำ รวมถึงแก่งสะพือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยงจะถูกทำลายเศรษฐกิจทั้งห่วงโซ่ จึงอยากให้มีการทบทวนโครงการ

“ไทยไม่ควรซื้อไฟฟ้าที่มาจากโครงการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือทำลายสิทธิชุมชน เพื่อให้เกิดมาตรฐานแก่ผู้พัฒนาโครงการบนแม่น้ำโขง” นายกฤษกร กล่าว
นายวมศักดิ์ โต้ดสี ภาคประชาชน จ.บึงกาฬ กล่าวว่า ต้องการให้มีกรรมาธิการร่วมบริหารน้ำ เพื่อกำหนดการกักน้ำและปล่อยน้ำร่วมกัน ไม่ใช่แต่ละประเทศต่างปล่อยน้ำจากเขื่อน เพื่อให้เกิดระบบคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้า
นายทนงศักดิ์ อินตรบุตร ภาคประชาชน จ.ลึงกาฬ กล่าวว่า ต้องการตั้งคำถามกับโครงการเขื่อนสารคามว่าเขื่อนสร้างขึ้นเพื่อใคร ใครจะเป็นผู้ซื้อไฟฟ้า หากประเทศไทยไม่ซื้อไฟฟ้าแล้ว ทางเราจะยังสร้างเขื่อนต่อไปหรือไม่ แต่หากสร้างเขื่อนประเทศไทยคนต่อรองผลประโยชน์หรือหรือแบ่งปันผลประโยชน์กับเรา 60 ต่อ 40 ได้หรือไม่ รวมถึงอยากให้มีการสำรวจผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนเพื่อให้เกิดการเยียวยาอย่างครอบคลุม
นายระยอง คลองต้น ภาคประชาชน จ.บึงกาฬ กล่าวว่า การสร้างเขื่อนสารคามจะเกิดผลกระทบกับภาคเกษตร อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม 2 ประเทศ เพื่อร่วมรับผิดชอบผลกระทบ และมีการแจ้งเตือนการปล่อยน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ภาคเกษตรและผลกระทบต่อชุมชน 2 ฝั่งโขง
นอกจากนี้ภาคประชาชนที่เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลในหลายประเด็น อาทิ ต้องการระบบแจ้งเตือนภัยการปล่อยน้ำของเขื่อน กองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ผลกระทบต่อภาคการประมงและการเกษตร การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปลา และกลไกความร่วมมือ 2 ประเทศ รวมถึงการเรียกร้องให้ผู้พัฒนาร่วมรับผิดชอบผลกระทบข้ามพรมแดน
ก่อนปิดเวทีฯ ทาง สนทช.ได้ชี้แจงขั้นตอนการยกร่างเอกสารรตอบกลับ ก่อนส่งให้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (TNMC) และให้สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) พิจารณาจัดทำแถลงการณ์ร่วมตามขั้นตอนก่อนสิ้นสุดกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) ต่อไป
ขณะที่ในวันเดียวกันเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกันจัดเวทีคู่ขนาน “หยุดเขื่อนสานะคาม หยุดเขื่อนแม่น้ำโขง หยุดค่าไฟแพง” ที่ห้องประชุมสามวาฬ โรงแรมบีเคเพลส จ.บึงกาฬ เพื่อแสดงจุดยืนของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม โดยมีตัวแทนชุมชนจังหวัดริมน้ำโขง ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการร่วมการเสวนา
โดยมีการออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลจีน สปป.ลาว กัมพูชา ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงค์โปร์ พร้อมทั้งแจ้งถึง MRCS การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทผู้สร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขง โดยมี 16 องค์กรร่วมลงนามแนบท้าย เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกัน
ทั้งนี้จดหมายเปิดผนึกระบุ การเรียกร้องให้ยุติโครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำโขง โดยควรผลักดันทางเลือกด้านพลังงานที่แท้จริง และเร่งแก้ไขปัญหาจากเขื่อนที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งรัฐบาลแม่น้ำโขงและประเทศผู้ซื้อไฟต้องฟังเสียงประชาชน หยุดร่วมกันทำร้ายแม่น้ำโขง รวมถึงเรียกร้องให้ประชาชนหลายสิบล้านคนที่ตั้งรกรากอยู่ในลุ่มน้ำนี้หยุดเขื่อนแม่น้ำโขง