Search

เสียงสะท้อนชาวท้องถิ่นหาดนาปูเล จากผลกระทบโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

dawei1
ภาพโดย โลมาอิรวดี

 

ชาวบ้านท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่หาดนาปูเล ห่างจากเมืองทวายไปทางเหนือ 20 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมสร้างโครงการเขตเศรฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone) ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีจิตสำนึก และรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาวบ้านในเมืองทวาย จากการสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์มูลค่าการลงทุน 4 แสนล้านบาท

โครงการเขตเศรฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศพม่า เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและรัฐบาลพม่า โดยทั้งสองรัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลง MOU ร่วมกันเมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) คว้าสัปทาน 75 ปี ในการพัฒนาโครงการ
โครงการเขตพิเศษทวายนี้ประกอบด้วยการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รอบท่าเรือนำลึกทวาย การตัดถนนและสร้างทางรถไฟจากเมืองทวาย ประเทศพม่า เข้าสู่บ้าน พุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรีของไทย มีขนาดใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เท่า และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างเป็นเวลา 10 ปี

ขณะที่เสียงสะท้อนจากประชาชนในพื้นที่ กลุ่มเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่นาปูเล (Nabulae Youth Group) ได้ออกแถลงการณ์ว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีของการดำเนินการโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ชาวพื้นเมืองในพื้นที่ได้รับผลกระทบในหลายด้าน ทั้งการสูญเสียวิถีชีวิต ถูกยึดที่ทำกินและถูกสั่งย้ายให้ไปอยู่ในพื้นที่แห่งใหม่ รวมถึงไม่ได้รับเงินชดเชย นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ในช่วง 4 ปีของการดำเนินโครงการยังพบว่า มีตัวเลขการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่น้อยมาก อีกทั้งแรงงานในพื้นที่ถูกเลือกปฏิบัติและต้องทำงานในสถานที่ทำงานที่ไม่มีความปลอดภัย และยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

dawei2
ภาพโดย โลมาอิรวดี

 

ทั้งนี้ 71 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากกการทำสวนผลไม้ 41 เปอร์เซ็นต์จากการเลี้ยงสัตว์ และ 36 เปอร์เซ็นต์มีรายได้จากการทำการเกษตรเพาะปลูกอื่นๆ ขณะที่ประชาชน 94 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรฐกิจพิเศษทวายเป็นเกษตรกรที่มีที่ทำกินเพาะปลูกและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติบนที่ดินของตัวเอง ส่วนการโยกย้ายชุมชนไปยังเขต บาวา บ้านถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีคุณภาพ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว เช่นเดียวกับพื้นที่รองรับการโยกย้ายไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก

การถูกยึดที่ทำกินไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่สืบทอดปฎิบัติมาและขาดรายได้ประจำ แต่ยังส่งผลให้ชาวบ้านประสบปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารอีกด้วย การยึดที่ทำกินมีให้เห็นมากขึ้นนับตั้งแต่โครงการเริ่มดำเนินการ เช่น 70 เปอร์เซ็นต์ของครอบครัวในหมู่บ้าน “งาปีดั้ต” ขณะนี้ได้สูญเสียที่ดินทำกินของตัวเองแล้ว

dawei3
ภาพโดย โลมาอิรวดี

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางกลุ่ม Nabulae Youth Group กล่าวว่า ควรจะมีการศึกษาผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและสังคมก่อนที่จะมีการเริ่มโครงการ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้จ่ายเงินชดเชยแก่ชาวบ้านที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน เช่นเดียวกับการย้ายชาวบ้านและการเยียวยาจำเป็นจะต้องดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล กลุ่ม Nabulae Youth Group ได้ออกมาเตือนว่า การดำเนินโครงการโดยไม่มีการคำนึงและแก้ไขปัญหาจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาใหม่และผลกระทบต่อชาวพื้นเมืองในพื้นที่มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ไทยหวังให้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) และท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นโลจิสติกฮับในภูมิภาคเอเชีย โดยคาดหวังว่าจะเป็นช่องทางโอกาสและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้เติบโตต่อทั้งไทยและพม่า รวมถึงภูมิภาคนี้

ที่มา แถลงการณ์ของกลุ่ม Nabulae Youth Group

 

 

On Key

Related Posts

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →

ผบ.สส.เร่งหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำกกหลังชุมชนผวาสารพิษเจือปนจากการทำเหมืองทองฝั่งพม่า ภาคประชาชนเผยน้ำกกขุ่นเพิ่มจากปีก่อน 8 เท่าหวั่นกระทบน้ำดิบทำประปา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดีRead More →