Search

ไทบ้านรุ่นใหม่

taiban

ชาวบ้าน My Hoa 3 (หมี ฮัว 3) ต.หัว ฮ่าว จ.นินห์ เกอว์ เมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ทำ “งานวิจัยไทบ้าน” ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ สัตว์น้ำ และพันธุ์พืชที่มีผลต่อการเกษตร แล้วเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ปรับปรุงวิถีชีวิต และผลผลิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา พวกเขาถ่ายทอดงานวิจัยให้สื่อมวลชนไทยฟังเป็นวิทยาทาน โดยมี Thanb Trang (ทัม จาง) รองเครือข่ายศึกษาระบบนิเวศน์ชุมชน และ Le Phuac Thao (เล ฟึก เทา) หัวหน้าหมู่บ้าน นำชมพร้อมบรรยาย

ระหว่างล่องเรือในแม่น้ำโขง ดูพื้นที่ชุ่มน้ำ Vam Ngao (วาม นาว) ซึ่งยังไม่มีเขื่อนดินปิดล้อม พบปะแกนนำหมู่บ้านหมีหัว 3 ซึ่งมีเขื่อนดินปิดล้อม  ชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (แม่โขงเดลต้า)ประสบปัญหาระดับน้ำเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติมาเกือบ 10 ปีแล้ว เช่น ปี 2556 ขึ้นสูงสุด 4-5 เมตร แต่ปี 2557 ลดลงเหลือ 2-3 เมตร สาเหตุเพราะ 1.โลกร้อน 2.เขื่อนตอนบน 3.การขุดแม่น้ำสายใหม่ทำให้สายหลักเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านจึงสร้างเขื่อนดินปิดล้อมเพื่อควบคุมระบบน้ำ

งานวิจัยไทบ้านหมีฮัว 3 พบว่า ทุกๆปี ปริมาณสัตว์น้ำหลายชนิดลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเริ่มศึกษาเจาะลึก 70 สายพันธุ์ปลา การขยายพันธุ์ การอพยพเคลื่อนย้ายแต่ละฤดู นอกจากนี้ ทางการยังปล่อยพันธุ์ปลาสายพันธุ์ให้สอดคล้องกับงานวิจัย เช่น ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แพร่พันธุ์ได้ดีในระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ในปี 2556 ปล่อยพันธุ์ปลาถึง 10 ตันลงแม่น้ำ

ชาวบ้านไม่ได้ทำงานโดดๆ ยังมีมหาวิทยาลัยประจำเมืองอันยางส่งผู้เชี่ยวชาญมาอบรมเรื่องวัดค่าดิน ค่าน้ำ ปัญหาสารเคมี สอนทำก๊าซชีวมูลและปุ๋ยชีวภาพ แนะนำการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช ให้ประยุกต์ใช้เทคนิคปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดแต่ผลผลิตไม่ลดลง กระตุ้นให้กลับมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ-ปุ๋ยมูลสัตว์แทนปุ๋ยเคมี ใช้พันธุ์ข้าวต้านแมลง ใช้แมลงดีฆ่าแมลงศัตรูพืช ฯลฯ

งานวิจัยยังช่วยให้ชาวบ้านค้นพบสูตรเปิด-ปิดน้ำให้สอดคล้องสัมพันธ์กับการชนิดพืชผล เช่น หลังจากลงหัวเผือกอ่อนแล้ว ต้องปล่อยน้ำให้ท่วม 20 ซม.ครึ่งวัน จากนั้นปล่อยออกให้เหลือ 10 ซม. เป็นต้น ในทุกๆ 3 ปี หรือเมื่อปลูกข้าวครบ 8 ครั้ง ช่วงน้ำหลาก ชุมชนจะปล่อยน้ำไหลเข้ามาแช่ขังในพื้นที่เพาะปลูกนาน 3 เดือน เพื่อให้ตะกอนตกค้างกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์

ในวงสนทนากับบรรดาแกนนำหมู่บ้านวันนั้น Truc Huong (จุ๊ก เฮือง) คือผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม

เธอเล่าถึงบทบาทผู้หญิงในงานวิจัยไทบ้านว่า ผู้ชายลงเก็บข้อมูลอะไร ผู้หญิงก็ทำเหมือนกัน แต่ข้อเด่นคือผู้หญิงเข้าครัวทุกวัน จึงรู้จักปลาและพืชผักเกือบทุกชนิด ผ่าท้องปลาออกมา รู้ว่ากินอะไร มีอะไรเปลี่ยนแปลง จึงเก็บข้อมูลห่วงโซ่อาหารของปลาได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย

จุ๊ก เฮือง เป็นสมาชิกพรรคประจำหมู่บ้าน ชอบงานสังคมและพัฒนาชุมชน ล่าสุดลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านครั้งที่ผ่านมา แต่แพ้เฉียดฉิว

ผมถามเธอว่า อะไรคือแรงจูงใจ รายได้หรือความชอบส่วนตัว

ตัวแทนคนรุ่นใหม่ในทีมงานวิจัยไทบ้านหมีหัวตอบด้วยรอยยิ้มแจ่มใสว่า หลังรับทุนรัฐบาลเข้าอบรมหลักสูตรพยาบาลครึ่งปี มีเป้าหมายอยากเป็นนักสวัสดิการสังคม ทำงานอุทิศตนให้กับชุมชนและสังคมมากกว่าคำนึงถึงเรื่องรายได้

วงสนทนาเรื่องงานวิจัยไทบ้านจบลงอย่างเป็นกันเอง ณ ดินแดนปากแม่น้ำโขง ประเทศเพื่อนบ้านไทย

————————-

ภาคภูมิ ป้องภัย
มติชน 21 เมษายน 2558

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →