Search

เชียงรายจัดรำลึกแผ่นดินไหว-ชี้เป็นพื้นที่เสี่ยง เดินหน้าตั้งกองทุนภัยพิบัติรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

received_906819292694690
ภาพโดย บันทึกคนเดินทาง

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 นายประนอม เชิมชัยภูมิ ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จากกรณีเกิดภัยพิบัติที่ประเทศเนปาลนั้น สังเกตว่าขณะนี้นอกเมืองใหญ่ยากต่อการเข้าถึงระบบการช่วยเหลือจากส่วนกลางและนานาชาติ เป็นอีกมุมมองที่ต้องเรียนรู้ว่าการรวมศูนย์กลางการช่วยเหลือภัยพิบัตินั้นต้องสร้างความเข้มแข็งจากท้องถิ่น โดยหากย้อนมองประเทศไทยเองเคยได้รับบทเรียนจากกรณีภัยพิบัติแล้วหลายครั้ง ยกตัวอย่างจังหวัดเชียงรายเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงสุดประมาณ 6 กว่าริกเตอร์ ซึ่งมีศูนย์กลาง ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ส่งผลกระทบถึงอำเภอพาน อำเภอแม่สรวย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และสามารถรับรู้ได้ในทุกอำเภอทั่วจังหวัดเชียงราย ล้วนแล้วแต่เป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ประชาชนทุกพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง ในวันที่ 5 -6 พฤษภาคมนี้ทางองค์กรต่างๆ ในจังหวัดเชียงรายจึงได้ ร่วมกันจัดเวที “รำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย” ณ โรงเรียนสันกลางราษฎร์พัฒนาและ วัดแม่สรวยหลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เพื่อถอดประสบการณ์ 1 ปีจากเหตุแผ่ดินไหว และการรับมือภัยพิบัติอื่นๆ

นายประนอม กล่าวด้วยว่า ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวทางเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะระดมหน่วยงาน ประชาชนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกันระหว่างชาวบ้าน หน่วยงานรัฐ เอกชน ตลอดจนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติต่างๆ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ทั้งพายุ แผนดินไหว ดินถล่ม ฯลฯ พร้อมหลักการปฏิบัติตัว กรณีเผชิญภัยฉุกเฉินให้ประชาชนได้ปรับใช้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้สำหรับจังหวัดเชียงรายนั้นภัยพิบัติธรรมชาติที่เสี่ยงเกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือ พายุลูกเห็บที่สร้างความเสียหายหลายครั้งในจังหวัดเชียงราย แม้ไม่รุนแรงเท่าภัยพิบัติอื่นจนพบผู้เสียชีวิตมากมาย แต่ชาวเชียงรายเสี่ยงต้องเฝ้าระวัง และมีการกำหนดขอบเขตการสร้างอาคาร สถานที่ ที่รองรับกับความเสี่ยงดังกล่าวด้วย รองลงมาเป็นดินสไลด์ เพราะเชียงรายนั้นมีภูเขาสูงหลายลูกและประชาชนบางกลุ่มอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เมื่อฝนตกหนักเชียงรายจะพบกับปัญหาดินสไลด์อย่างต่อเนื่อง ต่อมาเป็นแผ่นดินไหว นับเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในเชียงรายเมื่อปี 2557 ซึ่งเป็นภัยรุนแรงที่สร้างความเสียหายแก่อาคารสถานที่อย่างมาก โดยจากการศึกษาของนักวิชาการพบว่า เชียงรายมีรอยเลื่อนในอำเภอแม่จัน ดังนั้นแม่จันต้องรับมืออย่างหนักต่อความเสี่ยงดังกล่าว

“หลังเกิดแผ่นดินไหวผ่านมานั้น ทางเครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการท้องถิ่นขอให้จังหวัดได้จัดตั้งกองทุนภัยพิบัติเป็นงบกองกลาง ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ระหว่างดำเนินการ การเสนอดังกล่าวของท้องถิ่นได้รับการตอบสนองจากภาครัฐแล้ว นับเป็นการเริ่มต้นการเตรียมความพร้อมที่ดี เพราะท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องช่วยตัวเองกรณีฉุกเฉิน หากรอกระบวนการรัฐบาลกลางจะล่าช้า ปีนี้เราจึงต้องมาคุยวางกรอบแนวทางกันอีกรอบให้เกิดความเข้มแข็งในพื้นที่” นายประนอม กล่าว

อนึ่งกิจกรรมการจัดงานรำลึกเหตุการณ์แผนดินไหว จังหวัดเชียงรายจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤษภาคม ณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กิจกรรมสำคัญประกอบด้วยเวทีเสวนาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังมีขบวนเดินรณรงค์จากที่ว่าการอำเภอแม่สรวยถึง โรงเรียนสันกลางราษฎร์พัฒนา โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นประธานเปิดงาน
/////////////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →