สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

เครือข่ายภาคประชาชนอีสานแสดงจุดยืน ค้านโครงการผันน้ำโขงเข้าชีมูล หวั่นล้มเหลวซ้ำซาก-แก้ปัญหาผิดจุด

received_10205925540473557

วันที่ 12 พฤษภาคม เวลา 9.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น ตัวแทนสมาชิกเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน และองค์กรภาคีอีก 17 องค์กร ได้แถลงข่าวกรณีที่รัฐบาลผลักดันโครงการผันน้ำ โขง-เลย-ชี-มูล โดยระหว่างการแถลงการณ์มีเจ้าหน้าที่ทหารมาสังเกตการณ์ประมาณ 20 นาที

นายสิริศักดิ์ สะดวก ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำอีสาน กล่าวว่ามายาคติเรื่องอีสานแล้งซ้ำซากกลายเป็นช่องทางของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเรื่องน้ำเพื่อนำเสนอโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ในภาคอีสานตลอดมา “โครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล” นับเป็นโครงการล่าสุดที่ กรมชลประทาน และ มูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต ต่างผลักดันจะให้เกิดขึ้นให้ได้ในยุคนี้ ทั้งที่ปัจจุบันนี้แม่น้ำโขงนั้นมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศมาก เนื่องจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนและเขื่อนที่กำลังก่อสร้างคือเขื่อนไซยะบุรี ได้ส่งผลต่อการไหลของแม่น้ำโขงและระดับน้ำที่ขึ้นๆ ลงๆ อย่างเห็นได้ชัดทำให้เราไม่สามารถจะกำหนดทิศทางของน้ำได้ ประกอบกับปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอที่จะผันเข้ามาเติมในภาคอีสานอย่างแน่นอน และในฤดูฝนเองน้ำในภาคอีสานก็มีมากอยู่แล้ว จะผันไปเก็บที่ไหน นี้คือความจริงที่รัฐจะต้องกล้าที่จะฟังเสียงของคนลุ่มน้ำ ไม่ใช่เร่งแต่จะผลักดันโครงการอย่างเดียวเพื่อนำงบประมาณมาตอบสนองคนแค่ไม่กี่กลุ่ม” นายสิริศักดิ์ กล่าว

received_10205925541753589

นายสิริศักดิ์กล่าวว่า บทเรียนการจัดการน้ำด้วยโครงการขนาดใหญ่ในอีสานกว่า 40 ปี แทบจะเป็นบทสรุปความล้มเหลวในทุกโครงการ ได้แก่ โครงการโขง-ชี-มูล เขื่อนปากมูล โครงการชลประทานระบบท่อ โครงการน้ำแก้จน ฯลฯ ผลที่เกิดจากโครงการเหล่านี้ได้ทำให้ระบบนิเวศสำคัญของอีสานพังพินาศไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ การแพร่กระจายของดินเค็ม การสูญเสียที่ดินทำกิน การสูญเสียพันธุ์ปลาและความหลากหลายทางชีวภาพ

“ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาและรอการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้มามากกว่า 20 ปี และผ่านมาแล้ว มากกว่า 10 รัฐบาล โครงการบางแห่งก็กลายเป็นอนุสาวรีย์แห่งความล้มเหลวประจานผลงานภาครัฐ บทเรียนและงบประมาณรัฐหลายแสนล้านบาทเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าและสร้างปัญหามากมายในภายหลัง แต่ก็ไม่ได้ทบทวนแนวทางรูปแบบโครงการแต่อย่างใด กลับจะเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่โดยละเลยกระบวนการและขั้นตอนที่ภาคประชาชนให้ความสำคัญและติดตามมาตลอด และยังวนเวียนซ้ำซากกับโครงการแบบเดิมๆ ที่เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น ใช้เงินมากขึ้น และสร้างผลกระทบมากขึ้น” นายสิริศักดิ์ กล่าว

received_10205925541793590
นายสิริศักดิ์กล่าวว่า ในยุคที่ทางหน่วยงานรัฐยังพยายามผลักดันโครงการเมกะโปรเจคนี้ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของอีสาน การโหมข่าวว่า ภาคประชาชนเห็นด้วยต่อโครงการนี้ และการใช้งานวัฒนธรรมประเพณีของคนลุ่มน้ำโขง ในวันที่ 18 เมษายน 2558 ที่แก่งคุดคู้ จังหวัดเลย เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ นับเป็นวิธีการที่ถือว่าไม่จริงใจ และไม่เคารพวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

นางสาวคำปิ่น อักษร ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำโขง กล่าวว่าพวกเราองค์กรประชาชนต่างๆ ขอแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล และหาก กรมชลประทาน ในฐานะผู้ผลักดันโครงการมีความจริงใจ ก็ควรจะมีการเปิดเผยข้อมูลและเปิดเวทีให้ประชาชนทั้งภาคอีสาน ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ได้แสดงความคิดเห็นและเปิดให้มีการถกเถียงกันถึงความจำเป็นของโครงการ รวมทั้งให้โอกาสประชาชนได้เสนอทางเลือกอันหลากหลายในการจัดการน้ำที่สอดคล้องกับระบบนิเวศอีสานทั้งหมด

“ระบบนิเวศอีสานประกอบไปด้วย พื้นที่ทาม ทุ่ง โคก ภู ซึ่งมีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นถิ่นและสามารถพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้อง มีความยั่งยืนกว่า ถูกกว่า บริหารจัดการง่ายกว่า โดยไม่จำเป็นที่จะต้องผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ หรือใช้แม่น้ำระหว่างประเทศ กรมชลประทานไม่ควรสร้างภาพ บิดเบือนรวบรัดตัดตอนดำเนินโครงการ โดยออกแบบกำหนดรูปแบบวิธีการทางวิศวกรรมทั้งหมดเอาไว้แล้ว โดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของภาคอีสาน รัฐจึงควรจะให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ไม่ใช่มีส่วนร่วมเพียงแค่ทำไปตามรูปแบบขั้นตอนให้เสร็จๆ ไปตามกฎหมายทั้งที่ได้กำหนดทุกอย่างเอาไว้แล้ว ประชาชนคนอีสานไม่ควรถูกบังคับให้ยอมรับการพัฒนาที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนด และนำความหายนะมาให้เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา

 

received_10205925541713588

นายนิติกร ค้ำชู เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม กรณีน้ำพอง กล่าวว่าองค์กรที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ครั้งนี้มีกลุ่มต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่ตลอดลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล ในภาคอีสาน อาทิ กลุ่มศึกษาการพัฒนาภาคอีสาน โครงการทามมูล จ.สุรินทร์ เครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำของ จ.อุบลราชธานี ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอีสาน ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำโขง (กรณีคัดค้านเขื่อนปากชม) อ.ปากชม จ.เลย กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เป็นต้น

On Key

Related Posts

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →