Search

นางเลิ้งวันนี้ ก่อน “รถไฟใต้ดินมา ก่อนวัฒนธรรมเก่าลาจาก”

received_432926576868242

กว่า 3 ปีแล้วที่คนในชุมชนนางเลิ้งต้องคอยติดตามสถานการณ์การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ตามมติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ระบุว่าจะสร้างในปี 2562 แม้ปัจจุบัน การรถไฟฟ้าฯ ยังไม่มีท่าทีว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทว่าชุมชนนางเลิ้งไม่เคยวางใจต่อสถานการณ์

“มาถึงตอนนี้ คิดว่าหวังจะให้โครงการยุบ เหมือนหวังในอดีต คงเป็นไปไม่ได้ คิดว่าถึงยังไงก็จะเกิดขึ้น โดยที่ประชาชนอาจไม่ทันตั้งตัว แต่ระหว่างที่การก่อสร้างยังไม่มาถึง พวกเราอยากให้รัฐบาลลองใช้ข้อมูลจากชาวบ้านไปพิจารณาดูว่า สถานีหลานหลวงที่เป็นส่วนหนึ่งของใต้ดินสายนี้นั้นเหมาะแก่การก่อสร้างหรือไม่ เราไม่อยากให้รัฐบาลเวนคืนที่ดินที่เป็นทรัพย์เก่าแก่เพราะสถานนีหลานหลวงตามแผนก่อสร้างไม่ได้ห่างจากสถานีผ่านฟ้าเท่าใดนัก” สุวัน แววพลอยงาม รองประธานชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน(วัดแคนางเลิ้ง) เกริ่นเหตุผลสั้นๆ

received_432926583534908

เธอย้ำด้วยว่าบริเวณชุมชนนางเลิ้งนั้นประมาณ 80-90% จะเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เหลือคือที่ดินของเอกชน ดังนั้นเมื่อมีการเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างใดๆ ประชาชนส่วนมากจะไม่มีที่อยู่อาศัยที่ทำกิน อีกทั้งไม่มีสิทธิ์รับค่าเวนคืน ซึ่งชาวบ้านจะต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่ไปหลายคน ทั้งที่ชุมชนแห่งนี้มีอายุเก่าแก่มาเป็นร้อยปี

ขณะที่มุมมองของกัญญา ทิพโยสถ ครูสอนละครชาตรี วัยสูงอายุ ใน“คณะกัญญา ลูกแม่แพน” ระบุว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณนางเลิ้งมองว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าจะเป็นการลบประวัติศาสตร์ของชุมชนที่อุดมด้วยวัฒนธรรมทั้งการร้อง รำละครชาตรีเก่าแก่ และโรงละครเก่าของกรุงเทพมหานคร โดยจากการศึกษาแผนก่อสร้างที่แม้ที่ดินของตนที่ตั้งอยู่ในซอยเรืองนนท์จะไม่ถูกเวนคืน แต่เสี่ยงต่อการอาจถูกปิดกั้นทางเข้า-ออก ทำให้เกิดความลำบากในการเดินทาง

received_432926500201583
ระหว่างปี 2556-2557 ชุมชนนางเลิ้งมีกิจกรรมมากมายในการประชุม ชี้แจงข้อมูลการก่อสร้างรถไฟฟ้าและโครงการอื่นอาจส่งผลกระทบทำให้ข้อมูลเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะและนำมาสู่การเจรจาระหว่างฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายรัฐและฝ่ายคัดค้านบ่อยครั้ง แผนการสร้างค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามข้อเสนอของชาวบ้าน แต่สำหรับ “อุษา ครุฑตานนท์” เจ้าของร้านไพบูรณ์ค้าผ้า 2 แล้ว ระบุว่า ในตอนแรกที่มีการวางแผนโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีการเวนคืนพื้นที่ตึกแถวในชุมชนเป็นแนวยาวหลายตึกต่อกัน แต่เมื่อมีการพูดคุยต่อรองกันแล้วกลับพบว่ามีร้านของตนเพียงร้านเดียวที่เสี่ยงต่อการโยกย้ายที่อยู่ใหม่
received_432926466868253

“ถ้าสร้างจริงๆ ร้านป้าซึ่งเป็นร้านที่เราเช่าเขามาอีกทอด จะต้องปิดตัวลงโดยที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า ซึ่งตามกำหนดเดิมคือสัญญาเช่า 10 ปีแต่ป้าเพิ่งดำเนินการมาได้ราว 3 ปี แต่จ่ายเงินไปทั้งหมดแล้ว ที่น่าห่วงคือตามหลักการหากเวนคืนก็ต้องได้เงินค่าเช่าจากเจ้าของที่ดินที่ได้รับค่าเวนคืนมาด้วย แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเรียกเจรจาเพราะโครงการยังเงียบอยู่ โดยส่วนตัวไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าห้ามไม่ได้ เราขอค่าเวนคืนอย่างเป็นธรรม” อุษา กล่าวทิ้งท้าย

received_432926570201576

เหตุผลของคนในชุมชนนางเลิ้งและชุมชนใกล้เคียงตั้งแต่แรกเริ่มมีข่าวการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนมากยังคงค้านโดยยืนยันว่า นางเลิ้งไม่ได้มีสภาพพื้นที่ในการพัฒนาเพื่อความเจริญด้านการขนส่งมวลชนมากนัก แต่ควรค่าแก่การพัฒนาเป็นแหล่งเมืองเก่ามากกว่า โดยเรื่องนี้ “นายสิโพล พงกฤษฎากุล” รองประธานชุมชนจักรพรรดิพงษ์ซึ่งเป็นชุมชนใกล้เคียง อธิบายว่า ตนรู้สึกห่วงใยเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต 2 ส่วน คือ 1 อุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างเนื่องจากโครงสร้างของตึกในบริเวณนางเลิ้งเป็นตึกเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 อาจมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงนักหากมีการขุดอุโมงรถไฟฟ้าอาจทำให้เกิดรอยร้าวในตึกใกล้เคียงที่ไม่ถูกเวนคืนได้ 2 การก่อสร้างเส้นทางสัญจรที่ทันสมัยจะทำลายแผนพัฒนาชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบวัฒนธรรมยุคโบราณและสถาปัตยกรรมเก่า เพราะบริเวณนี้เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ ทั้งตลาดนางเลิ้งที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และมีความน่าสนใจอีกหลายด้าน อาทิ โรงหนังเก่าที่ฉายภาพยนตร์ของดารางดัง อย่าง “มิตร ชัยบัญชา”โรงลิเกเก่าบ้านนราศิลป์ และคณะละครชาตรีซอยเรืองนนท์วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งหากจะก่อสร้างก็ต้องมีการวางแผนพัฒนาชุมชนอันมีค่าทางวัฒนธรรมนี้ให้ดีขึ้น จึงจะเกิดความเป็นธรรมกับชาวบ้าน กับชุมชน อย่างน้อยให้คนรุ่นหลังรับรู้ว่าสิ่งที่ชุมชนก่อร่าง สร้างความเข้มแข็งที่ผ่านมาไม่เท่ากับศูนย์เพราะมีคนรุ่นใหม่ที่ยินดีจะอนุรักษ์

โดย บัณฑิตา สุขสมัย

received_432926536868246
//////////////////////////////

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →