Search

เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบนออกแถลงการณ์เร่งผลักดันพ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

Screenshot_2015-06-16-16-23-18_1

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ที่รัฐสภา กรุงเทพมหานคร เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบนได้เดินทางเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการสิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยื่นหนังสือแก่ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ให้เร่งผลักดันพ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 พร้อมได้ออกแถลงการณ์มีเนื้อหาดังนี้

ตามที่เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน หรือที่เรียกกันว่า อ่าวกอ ไก่ ประกอบด้วยเครือข่ายชุมชนชุมชนชายฝั่งรวมตัวกันมาตังแต่เมื่อปี 2553 จำนวน 57 หมู่บ้าน 6 จังหวัด ประกอบด้วย เครือข่ายชุมชนจังหวัด สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับการประมง และทรัพยากรธรรมธรรมชาติทางทะเล พื้นที่บริเวณอ่าว กอไก่ เป็นพื้นที่ปากน้ำมีลักษณะภูมินิเวศน์ หาดเลนบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ มีกุ้ง หอย ปูปลา แม้กระทั้งเป็นแหล่งหากินของโลมา และวาฬ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งจัดให้พื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอันดับ 7 ของโลกจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นที่ความมั่งคงทางด้านอาหาร ตลอดจนเป็นส่งผลิตภัณฑ์อาหารทางทะเลทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ปัจจุบันพื้นที่อ่าว กอไก่ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลให้พื้นที่บริเวณชุมชนแนวชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 134.45 กิโลเมตร การป้องกันที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่ทำแนวพนัง คันดิน ทิ้งหินป้องกันแนวการกัดเซาะกันเองโดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 150,000 บาทต่อปี จากข้อมูลการศึกษาพบว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหามาจากหลากหลายประเด็น กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดจากกาขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมรุกล้ำที่ดิน ที่ดินเอกชนถูกปล่อยทิ้งร้างไม่มีการป้องกันการกัดเซาะ ปัญหาโลกร้อน ตลอดจนที่ผ่านมาภาคราชการ เองไม่มีแนวนโยบายที่ชัดเจนในด้านการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบ ต่างหน่วยงาน ต่างทำ ส่งผลให้การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ถึงแม้ว่า เรื่องการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจะมีหลายหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบ มีประประชุมหารือ สู่การขับเคลื่อน แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการเร่งจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการพื้นที่ ทบทวนบทบาทหน้าที่คณะกรรมการ อนุกรรมการ การปรับโครงสร้างหน่วยงาน ตลอดจนการพัฒนาความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนั้นนโยบายของรัฐบาลเรื่องการการจัดการน้ำที่ยังไม่มีมาตรการใดที่ชัดเจน ที่สามารถรักษาสมดุลของระดับน้ำที่พอเหมาะต่อสิ่งมีชีวิตชายทะเล มีแต่จะฝันน้ำจืด ปล่อยน้ำเสียลงทะเล ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต อาชีพของชาวบ้าน สูญเสียไปในที่สุด

การรวมตัวกันของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน กอไก่ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชุมชน ชุมชนชายฝั่ง ที่มีแนวทางในการที่ช่วยกันดูแล อนุรักษ์ ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะใช้พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ ให้สู่ความยั่งยืน ดังนั้นกิจกรรมสำคัญในการที่จะอนุรักษ์ปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ไว้ โดยมีความพยายามจะต่อสู้กับการกัดเซาะ อาศัยความรู้ภูมิปัญญาการสร้างพื้นที่ป่าชายเลน การใช้วัสดุธรรมชาติทำแนวป้องกันคลื่น ตลอดจนการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติทางทะเล มาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาการกัดเซาะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงจำเป็นจะต้องประสาน ความร่วมมือในแนวทางป้องกัน ตลอดจนการดูแลรักษา วิชาการร่วมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานเกี่ยวข้อง ภาคีความร่วมมือ และจดทำแผนปฏิบัติการ ทิศทาง การทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ที่เสนอโดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการประกาศให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 นั้นถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการที่ร่วมกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการร่วมกันในการที่จะอนุรักษ์ อ่าวกอไก่ ซึ่งจะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั้น การใช้ให้เป็นเครื่องมือในทางที่จะร่วมกันของผู้ใช้ และชุมชนในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง เครือข่ายรักษ์อ่าวไทย ตอนบน อ่าวตัว ก จึงได้มีการจัดระดมความคิดเห็นของสมาชิกขึ้นเพื่อหาแนวทางข้อปฏิบัติต่าง ๆ
เครือข่ายได้มีการศึกษาและจัดเวทีรับรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการจัดการผลกระทบและป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนในอย่างยั่งยืน พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ให้เป็นไปตามกระบวนการมีส่วนร่วมในการปฏิรูป ทางเครือข่ายรักษ์อ่าวไทย ตอนบน ได้มีข้อเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการกลไกการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการดำเนินการ ติดตาม และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานเพื่อในการใช้กฎหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอของเครือข่ายฯ ดังต่อไปนี้

1.ประเด็นชุมชนชายฝั่ง พ.ร.บ.หมวด 2 มาตรา 16 เรื่องคุณสมบัติชุมชนในการขึ้นทะเบียนประกอบด้วยชุมชนใน 3 ลักษณะ คือ (1) ชุมชนชายฝั่งทั่วไป คุณสมบัติชุมชน รับรองตามสิทธิขึ้นทะเบียน(ม16)รวมตัวกันอย่างน้อย 20 คนมีกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี (2) ชุมชนท้องถิ่น รวมตัวกันอย่างน้อย 20 ครอบครัว (3)ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม รับรองตาม ม.16 ได้เลย

2.ผู้แทน คณะกรรมการ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ให้แยกเป็น ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงาน และผู้ทรงคุณวุฒิ (อาจมาจากปราชญ์ชาวบ้าน หรืออื่น ๆได้)
3.ประกาศแนวทางการสรรหา คัดสรรคณะกรรมการ จังหวัด กรรมการชาติให้มีคณะทำงานร่วมทั้งภาครัฐ ชุมชน เป็น มติ คณะรัฐมนตรี (1) กรรมการจังหวัด มาจาก การขึ้นทะเบียน ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิม มีคุณสมบัติ มีผลงานที่ประจักร และมีกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากร ต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี (2) กรรมการชาติ มาจากการขึ้นทะเบียนชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิม มีคุณสมบัติ มีผลงานที่ประจักร และมีกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากร ต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี

4.เสนอคณะอนุกรรมการ ตามประเด็น ให้มีภารกิจ อำนาจในการตัดสินใจ และสามารถเสนอความเห็นตรงต่อคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นจริง ที่มาจากการคัดสรรตามมาตร 16 และข้อเสนอที่ 3แนวทางการคัดสรร โดยประกอบด้วย (1) ผู้แทนมาภาคประชาชน 12 คนมาจากการสรรหาของชุมชน เครือข่ายประเด็น ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น (2) ผู้แทนราชการ องค์กร ผู้ทรงคุณวุฒิ วิชาการ 12 คนมาจากการสรรหาของชุมชน เครือข่ายประเด็น ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น

5. การจดทะเบียนชุมชนชายฝั่งให้ทำคุณสมบัติ ร่วมกับชุมชน เครือข่ายฯ

6.ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการจัดการทัพยากรรทางทะเลและชายฝั่ง ต่อการกัดเซาะและน้ำเสีย

นายบรรเจิด อุดมสมุทรหิรัญ ตัวแทนเครือข่ายรักอ่าวไทย ตอนบน กล่าวว่า ในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการทรัพยากรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากจะทำให้ประชาชนได้มีสิทธิในการบริหารทรัพยากรทั้งหาดดิน หาดโคลน และหาดทราย โดยควรมีอนุกรรมการที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเพื่อดูแลชุมชนเอง ซึ่งหากรัฐจะสนับสนุนก็ทำได้ทั้งการส่งเสริมงบประมาณและเปิดโอกาสรับฟังชาวบ้านในการเสนอข้อคิดเห็นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการทรัพยากร

On Key

Related Posts

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →

แหล่งอาชญากรรมริมเมยป่วนหลังถูกกดดันหนัก มาเฟียจีนพล่าน-ชักไม่มั่นใจกองกำลังกะเหรี่ยงเทา เตรียมฉวยจังหวะช่วงตรุษจีนกลับประเทศ แนะรัฐสบช่องเก็บข้อมูลแก๊งอาชญากร

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ทัวร์จีนเมืองชายแดนป่วน นักท่องเที่ยวแดนมังกรหายไป 80% ผู้ประกอบการโอดกรุ๊ปทัวร์ยกเลิกแทบเหี้ยน เผยโลกโซเชียลจีนกระหึ่มหวาดกลัวหนัก เชื่อคนหายนับแสนราย ตั้งคำถามทำไมช่วยไม่ได้เหมือน “ซิงซิง”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จาRead More →