Search

ภาคประชาชน –ภาควิชาการทวาย ร้อง รบ.ญี่ปุ่น ถอนตัวจากโครงการเศรษฐกิจพิเศษ

CallForResolved

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 เครือข่ายภาคประชาชนและวิชาการทวาย ประกอบด้วย สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association) องค์กรตะกาปอว์ (Takapaw) และ สมาคมวิจัยทวาย (Dawei Research Association) ได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นถอนตัวจากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในสหภาพพม่า โดยเนื้อหามีรายละเอียดดังนี้

ท่าเรือเล็ก ทวาย
ท่าเรือเล็ก ทวาย

พวกเรา สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association – DDA) เขียนมาเพื่อเรียกร้องให้สนใจกับจดหมาย[1] ที่เราได้ส่งถึงท่านเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เนื่องจากเรามีข้อกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการยืนยันเข้าร่วมของญี่ปุ่นในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในแคว้นตะนาวศรี ประเทศพม่าเมื่อไม่นานมานี้ โดยได้มีการลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง (MoI) กับรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ดังที่เราได้ระบุไว้ในจดหมายฉบับก่อน การพัฒนาโครงการเหล่านี้ในทวายได้ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนานาประการในชุมชนละแวกนี้ พวกเราได้หยิบยกข้อกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ และได้เรียกร้องให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA – ไจก้า) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ของญี่ปุ่น มิให้เข้าร่วมในโครงการที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ และให้ญี่ปุ่นหยุดการเข้าร่วมจนกว่าประเด็นปัญหาทั้งหลายเกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม และมีการวางแผนต่าง ๆ เสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่นต่อไปจากนี้

หมู่บ่านจัดสรรที่บริษัทผู้ประกอบการสร้างไว้เตรียมอพยพชาวบ้าน
หมู่บ่านจัดสรรที่บริษัทผู้ประกอบการสร้างไว้เตรียมอพยพชาวบ้าน

พวกเราต้องการย้ำอีกครั้งว่า สมาคมพัฒนาทวายได้ทำการวิจัยอย่างครอบคลุมในพื้นที่ทวาย และคาดการณ์ได้ว่า ชาวบ้านจาก 20 – 36 หมู่บ้าน จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง[2] และจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณใน 20 หมู่บ้านที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เราพบว่าชุมชนได้สูญเสียที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของพวกเขา โดยไม่ได้รับการชี้แจงล่วงหน้า และไม่มีการปรึกษาหารือที่มีความหมายกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเลย ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบร้อยละ 74 ที่เราได้ไปสำรวจระบุว่า รัฐบาลไม่ได้ขอความยินยอมจากพวกเขาก่อนที่จะเริ่มพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย[3] อีกทั้งกระบวนการจ่ายค่าชดเชยก็มีข้อผิดพลาดร้ายแรง – งานวิจัยของเราพบว่า ร้อยละ 63[4] ของชาวบ้านที่เราได้สัมภาษณ์ระบุว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐและบริษัทไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย และร้อยละ 59 ไม่ได้รับเอกสารใด ๆ เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย[5]

บรรยากาศตลาดทวาย
บรรยากาศตลาดทวาย

ยิ่งไปกว่านั้น จนถึงบัดนี้ผู้พัฒนาโครงการฯยังมิได้ดำเนินการโดยยึดข้อบังคับตามกฎหมายหรือหลักมาตรฐานในระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และมิได้แสดงความรับผิดชอบใด ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบังคับโยกย้าย สิทธิในการได้รับอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ และสิทธิในชนพื้นเมือง ถ้าหากประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมในโครงการใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับโครงการเขตเศรษฐกิจทวาย ญี่ปุ่นต้องให้หลักประกันอันดับแรกว่า ช่องว่างปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่

บรรยากาศตลาดทวาย
บรรยากาศตลาดทวาย

ในจดหมายฉบับต่าง ๆ ของเราก่อนหน้านี้ พวกเราได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลญี่ปุ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ด้วยความหวังว่าท่านเคารพในชุมชนท้องถิ่น และยังได้เตือนท่านเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเมืองและเศรษฐกิจในการเข้าร่วมในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง

แต่เรากลับพบว่ามีการลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2558 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสามเรื่องหลักด้วยกัน คือ การลงทุนในบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ เอสพีวี ผ่านทางธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า); ความร่วมมือในการขัดเกลาแผนแม่บทที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 3 ปี โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากไจก้าในการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค; และการจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (pre-feasibility study) เพื่อสำรวจแนวทางต่าง ๆ ในการก่อสร้างถนนไฮเวย์ใหม่ระยะสมบูรณ์ (full-phase)

ดังนั้น พวกเราจึงอยากจะย้ำเตือนท่านว่า ในขณะนี้ท่านต้องแสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโครงการเสียก่อน ซึ่งรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย และบริษัทล้มเหลวที่จะดำเนินการ และรวมถึงรับผิดชอบต่อผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการต่าง ๆ ในอนาคตด้วย

นอกจากนี้ พวกเราขอเรียกร้องถึงหลักประกันเกี่ยวกับการปรึกษาหารืออย่างมีความหมายกับชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบในช่วงต้น ๆ ของโครงการ หรือเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นของชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบเพื่อนำไปประกอบกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินโครงการ และด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกันนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผย หรือชี้แจงข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อที่ว่าชุมชนต่าง ๆ สามารถรับรู้เกี่ยวกับบทบาทของญี่ปุ่นและแผนของโครงการมากขึ้น และสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ โดยการให้ข้อคิดเห็นของพวกเขาได้

ก) โครงสร้างของบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) (หน่วยงานต่าง ๆ ของญี่ปุ่นมีความเกี่ยวข้องอย่างไรในฐานะคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการแต่ละคณะ);
ข) แผนแม่บทฉบับปัจจุบัน;
ค) ร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) ในการจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (pre-feasibility study) เกี่ยวกับการก่อสร้างถนนไฮเวย์ใหม่ระยะสมบูรณ์ (full-phase) (เรามีสมมติฐานว่าโครงการจะถูกจัดอยู่ใน ‘ประเภท เอ’ ภายใต้ ‘แนวทางสำหรับการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม’ ของไจก้า และตระหนักว่า ‘แนวทาง’ ดังกล่าวได้ระบุไว้ว่า “ก่อนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการสำรวจต่าง ๆ ไจก้าต้องทำการสำรวจภาคสนามและรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับโครงการ ‘ประเภท เอ’ และต้องนำผลเหล่านั้นมาประกอบการจัดทำทีโออาร์ในการดำเนินการสำรวจด้วย)

พวกเราขอขอบคุณท่านในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ และรอคอยคำตอบจากท่าน

///////////////////////////////////

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →