Search

โรงเรียนในพม่า 1,387 แห่งถูกปิดชั่วคราว ยอดผู้เสียชีวิต 46 คนจากเหตุน้ำท่วม

ภาพโดย Hein Htet / The Irrawaddy
ภาพโดย Hein Htet / The Irrawaddy

เมื่อวันอังคาร (4 ส.ค.) รัฐบาลพม่าได้ออกแถลงการณ์โดยระบุว่า มีโรงเรียนทั่วประเทศ 1,387 แห่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ทำให้โรงเรียนเหล่านี้ต้องปิดการเรียนการสอน โดยโรงเรียนบางส่วนถูกจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยรัฐบาลพม่าได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ ขณะที่ระบุ เหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นใน 11 รัฐ/เขตขณะนี้ เป็นผลมาจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่า 2 เดือน แต่ก็ยอมรับว่า การรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ของรัฐบาลยังไม่ดีพอ

ทั้งนี้ มีโรงเรียนประถมถูกปิด 1,010 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 293 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลาย 84 แห่ง ใน 9 รัฐและเขต นายเอหม่อง จากกลุ่มเอ็นจีโอ Action-Based Community Development (ABCD) ในรัฐอาระกันเปิดเผยว่า โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนนับตั้งแต่อาคารเรียนถูกน้ำท่วม ขณะที่โรงเรียนบางแห่งถูกจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นายเอหม่อง ยังเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษากำลังอยู่ระหว่างประเมินความเสียหายของโรงเรียนบางแห่งในรัฐอาระกัน และถึงแม้ระดับน้ำจะลดลง แต่ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกลับบ้านของตัวเองได้ เนื่องบ้านและทรัพย์สินยังอยู่ใต้น้ำ ผู้ประสบภัยเหล่านี้จึงจำเป็นต้องอยู่ตามศูนย์พักพิงและบรรเทาทุกข์ ซึ่งก็คือ โรงเรียนและวัด ด้านนายอ่องจ่อทุน หัวหน้าสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการของพม่าประจำเขตอิรวดีเปิดเผยว่า โรงเรียนในพื้นที่จะเปิดการเรียนการสอนตามปกติหลังน้ำลดและสถานการณ์ปลอดภัยแล้ว

ด้านสื่อของรัฐบาลรายงานว่า รัฐอาระกันได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยมีโรงเรียนถูกปิด 681 แห่ง ตามมาด้วยเขตพะโค 239 แห่ง เขตมะเกว 128 แห่ง เขตสะกาย 108 แห่ง เขตอิรวดี 77 แห่ง เขตย่างกุ้ง 24 แห่ง รัฐคะฉิ่น 62 แห่ง รัฐกะเหรี่ยง 50 แห่งและรัฐชิน 18 แห่ง

เมื่อวันจันทร์ (3 ส.ค.) ที่ผ่านมา กระทรวงสวัสดิการสังคม บรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานของพม่า ได้เปิดเผยว่า มีชาวพม่ามากกว่า 217,000 คนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 46 คน

ส่วนทางกลุ่มสหพันธ์ข้าวพม่า(The Myanmar Rice Federation – MRF) ได้มีการประเมินว่า นาข้าวทั่วประเทศมากกว่า 1,250,000 ไร่จมอยู่ใต้น้ำ ทางด้านกรมวางแผนการเกษตรและสถิติของพม่าออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า พื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 2,425,000 ไร่ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

ขณะที่น้ำท่วมครั้งนี้กำลังส่งผลระยะยาวต่อเกษตรกร เพราะหลังน้ำท่วมชาวนาต้องกลับมาทำนาใหม่ ทำให้การปลูกพืชผลอื่นๆ หลังทำนา เช่น การทำไร่ถั่ว ต้องเลื่อนออกไปหลายเดือนและจะกระทบไปจนถึงปีหน้า ทั้งนี้ พืชผลทางเกษตรที่ส่งออกจำนวนมากรองลงมาจากข้าวคือ พืชกระกูลถั่ว ผู้รับซื้อถั่วรายใหญ่จากพม่าคิดเป็น 80 % คือ อินเดีย ตามมาด้วย จีน ไต้หวัน และอีกหลายประเทศในอาเซียน โดยผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า น้ำท่วมครั้งนี้อาจเสียหายมากกว่าเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสถล่มเมื่อปี 2551

ที่มา Irrawaddy/Myanmar Times

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →