สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ข้อควรรู้-ติดตามข่าวเลือกตั้งพม่า 8 พฤศจิกายน

 

ภาพจาก Facebook Page Myanmar election 2015
ภาพจาก Facebook Page Myanmar election 2015

การเลือกตั้งทั่วไปในพม่าได้ถูกกำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2558 และจะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่เปิดกว้างให้ทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมแข่งขัน หลังอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารหลายสิบปี

ประธานาธิบดีเต็งเส่งแห่งพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP) ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับทหาร จะแข่งขันกับพรรคซึ่งได้รับความนิยมมากอย่าง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(National League for Democracy -NLD) ของนางอองซาน ซูจี สำหรับคะแนนเสียงข้างมาก

หลายสิบพรรคการเมืองจากรัฐชาติพันธุ์จะลงแข่งขันเพื่อแบ่งคะแนนเสียงในเขตพื้นที่ของตน ขณะเดียวกันพรรคเล็กๆจำนวนมากก็จะลงแข่งขันเลือกตั้งเพื่อชิงเก้าอี้ในเขตพื้นที่ซึ่งมีชาวพม่าอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่

ข้อมูลสำคัญ

-พม่ามีประชากรราว 51.5 ล้านคน ตามข้อมูลสำรวจในปี 2557 ประชากรที่มีอายุเกิน 18 ปี และมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีอยู่ 33 ล้านคน

-อดีตรัฐบาลทหารเห็นชอบรัฐธรรมนูญในปี 2551 จัดเลือกตั้งในปี 2553 โดยพรรครัฐบาล USDP ชนะการเลือกตั้งเสียส่วนใหญ่ การเลือกตั้งซ่อมในปี 2555 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่เปิดกว้าง พรรค NLD ชนะ 43 ที่นั่ง จากทั้งหมด 44 ที่นั่งที่ส่งลงแข่งขัน

-สำนักงานย่อยคณะกรรมการเลือกตั้งจะต้องออกบัตรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ช้ากว่า 1 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิ์จะต้องแสดงบัตรประชาชนพม่าก่อนที่จะได้รับบัตรดังกล่าว

-ผู้มาใช้สิทธิ์จะสามารถมาลงคะแนนเสียงได้ในวันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 06.00 น. – 16.00 น.

-มีผู้สมัครลงเลือกตั้งทั้งสิ้น 6,065 คน ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง เป็นตัวเลขเกือบสองเท่า เมื่อเทียบกับผู้สมัคร 3,069 คน ในการเลือกตั้งปี 2553

-การเลือกตั้งนั้น จะเลือกผู้แทน 325 คน ไปสู่สภาผู้แทนราษฎร (5 เขตเลือกตั้งภายใต้การควบคุมของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์จะไม่จัดการเลือกตั้ง เนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคง) ผู้แทน 168 คน ไปยังวุฒิสภา และผู้แทน 673 คน ไปยังสภาภูมิภาคและสภารัฐ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ส่วนที่นั่ง 1 ใน 4 ของทุกสภาถูกสงวนไว้ให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

-ผลการเลือกตั้งจะเป็นตัวกำหนดผ่านการใช้ระบบเลือกตั้งแบบผู้ได้คะแนนสูงสุดได้รับเลือกตั้ง (First Past the Post-FPTP) โดยผู้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะได้เก้าอี้เป็นตัวแทนของทั้งเขตเลือกตั้ง

-ในการประชุมร่วมสองสภา ผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่จะโหวตเลือกประธานาธิบดีโดยพวกเขาสามารถลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครจาก 3 คน โดยสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและทหารต่างสามารถเสนอชื่อบุคคลได้ 1 ชื่อเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยผู้ที่แพ้คะแนนจะเป็นรองประธานาธิบดี

-พรรคการเมืองจำเป็นต้องมีมากกว่า 50 % ของเก้าอี้ในทั้ง 2 สภา หรือมากกว่า 2 ใน 3 ของเขตที่ลงแข่งขันเลือกตั้ง เพื่อมีเสียงข้างมากเพียงพอที่จะสามารถลงคะแนนเสียงในประธานาธิบดีคนใหม่

-ประธานาธิบดีจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และแต่งตั้งหัวหน้ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจประจำรัฐและภูมิภาค

-รัฐสภาปัจจุบันจะหมดวาระในวันที่ 30 มกราคม ปี 2559 และจะส่งมอบอำนาจแก่ผู้แทนชุดใหม่ ในต้นเดือน กุมภาพันธ์ รัฐสภาจะลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ ในวันที่ 29 มีนาคม รัฐบาลชุดปัจจุบันจะหมดวาระหน้าที่ และรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาบริหารแทน

พรรคการเมืองที่ลงแข่งขัน

มีพรรคการเมืองทั้งหมด 93 พรรคที่จะลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองที่มีผู้ลงสมัครมากที่สุดคือ

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(National League for Democracy) – 1,130 คน

พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา(Union Solidarity and Development Party) -1,130 คน

พรรคสามัคคีแห่งชาติ(National Unity Party) -757 คน

พรรคพัฒนาแห่งชาติ (National Development Party) – 353 คน

พรรคพัฒนาชาวนาพม่า (Myanmar Farmers Development Party)- 286 คน

พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ(National Democratic Force)- 274 คน

พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติไทใหญ่ (Shan Nationalities Democratic Party – SNDP)-206 คน

พรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy -SNLD) – 158 คน

พรรคประชาชนกะเหรี่ยง(Karen People’s Party)- 117 คน

พรรคแห่งชาติอาระกัน (Arakan National Party) – 77 คน

ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอิสระ – 309 คน

ข้อมูลจาก myamar-now.org
แปลโดย transbordernews.in.th

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ต.ค.2558

 

On Key

Related Posts

เยาวชนกะเหรี่ยงตกเป็นเหยื่อแก๊งสแกมเมอร์ วอนขอความช่วยเหลือ-ตั้งใจทำงานหาเงินช่วยครอบครัวแต่ถูกหลอกให้เปิดบัญชีม้าถูกแจ้งความดำเนินคดี-หนี้ก้อนใหญ่ เผยพ่อเครียดฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม น.ส.แยมุย สายชลพิมาน ชาวไทยเRead More →

วิกฤตเด็กหนีภัยสงครามพม่าทะลัก องค์กรด้านการศึกษาไทยผวาไม่กล้ารับหวั่นถูกดำเนินคดี-ส่งกลับประเทศต้นทางเหมือนกรณีอ่างทอง-ลพบุรี “ครูน้ำ”เจ็บปวดช่วยเด็กให้ได้เรียนกลับถูกมองไม่ซื่อสัตย์กับประเทศ

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ศูนย์วิจัยพหุวัฒนธรรมแลRead More →

ป้าๆ อดีตสาวฉันทนาเตรียมยื่นหนังสือถึง “เศรษฐา”ในวันเมย์เดย์ 1 พค. วอนช่วยปรับเบี้ยผู้สูงอายุ-บ่นน้อยใจทำงานตั้งแต่สาวจนแก่กลับไร้ความเหลียวแล-รัฐไม่กระตือรือร้นเหมือนเงินดิจิตอล 1 หมื่นบาท

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 น.ส.อรุณี ศรีโต หรือป้าRead More →