สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

Search

ศาลจีนเอาจริงลงโทษธุรกิจทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งกองทุนจัดการฟื้นฟู-คดีฟ้องอื้อ

ภาพโดย IC

สำนักข่าวไชนาเดลี่รายงานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลสูงสุดของจีนเตรียมเสนอขั้นตอนการจัดสรรเงินฟื้นฟูโดยศาลประชาชนสูงสุดของจีนได้เรียกร้องต่อองค์กรของศาลและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อร่วมกันจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดการภายใต้การดูแลของศาลเพื่อการฟื้นฟูด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองทุนต้องมีรายละเอียดว่าใครจะมีคุณสมบัติในการใช้เงินค่าชดเชย ใช้อย่างไรและใครจะเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การใช้นั้นเพื่อให้มั่นใจว่า เงินนั้นจะสามมารถฟื้นฟูมลภาวะสิ่งแวดล้อม

นายเวย เวนเชา รองหัวหน้าศาลสิ่งแวดล้อมและนิเวศ ศาลประชาชนสูงสุดกล่าว เน้นย้ำถึงหลักการและแนวทางในการจัดการกับคดีมลภาวะเพื่อการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เร็วที่สุด โดยได้ลงโทษธุรกิจหลายแห่งและคำนวนค่าใช้จ่ายที่พวกเขาต้องจ่ายเป็นค่าชดเชย แต่ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนจัดการและใช้เงินนั้นเพื่อการฟื้นฟูหลังจากที่เรามีคำตัดสินไปแล้ว แต่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนมากเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งแวดล้อมจะได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว เราควรจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนต่อการใช้จ่ายเงินนั้น การจัดตั้งกองทุนนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งศาลสูงสุดได้มีการเจรจากันระหว่าง รัฐมนตรีกระทรวงนิเวศและสิ่งแวดล้อม ศาลประชาชนสูงสุดและฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

ทั้งนี้เมื่อเร็วๆ นี้ จีนได้เพิ่มความพยายามในการที่จะจัดการเรื่องมลภาวะ โดยมีการปรับใช้มาตรการต่างๆ ที่ให้ประชาชนหรือสถาบันต่างๆ ได้ยื่นฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเดือนมกราคม ปี 2015 จีนได้มีการทบทวนกฎหมายการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมของจีนด้านผลกระทบและเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนยืนฟ้องร้องคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่ง 6 เดือนต่อมาโครงการนำร่องที่อนุญาตให้อัยการยื่นฟ้องคดีดังกล่าวได้ถูกนำมาปรับใช้ครั้งแรกใน 13 มณฑลของประเทศจีน ในขณะเดียวกันอัยการก็มีอำนาจ มีบทบาทในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยการดำเนินการฟ้องคดีต่อกับรัฐบาลเพือกดดันให้ฝ่ายบริหารบังคับใช้กฎหมาย

เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2017 โครงการนำร่องได้รับการขยายไปทั่วประเทศและได้มีการเขียนอย่างเป็นทางการในกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายขั้นตอนการบริหารที่แก้ไขเพิ่มเติม สืบเนื่องจากศาลประชาชนสูงสุด ในปี 2017 ศาลทั่วประเทศจีนได้รับคำร้องคดีอาญาด้านสิ่งแวดล้อมจำนวน 21,241 คดี ข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมจำนวน 207,552 คดี และคดีทางปกครอง 134,791 คดี โดยมีการคน ถูกลงโทษ 17,965 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ก่อนหน้า (2016) มีคดีอาญาด้านสิ่งแวดล้อม 20,394 คดี ข้อพิพาททางแพ่งด้านสิ่งแวดล้อม 90,769 คดีและคดีปกปครองจำนวน 35,177 คดี ในระหว่างการรับฟังของศาลเมื่อปีที่แล้ว มีคดีที่เป็นประโยชน์สาธารณะ 48 คดีที่ยื่นฟ้องโดยองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ ในช่วงวันที่ 1 กรฏาคม -31 ธันวาคม และ มี 257 คดีดังกล่าวเป็นการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐ

On Key

Related Posts