Search

ทัพพม่าส่งกำลังเสริมหลายร้อย หลังเพลี่ยงพล้ำถูกยึดฐานในรัฐคะเรนนีติดแดนแม่ฮ่องสอน ส่งเครื่องบินรบทิ้งระเบิด ประธาน KNPP เชื่อถูกเอาคืนแน่ ห่วงชาวบ้านแนวชายแดน นายอำเภอแม่สะเรียงเร่งจัดระบบช่วยเหลือมนุษยธรรม

(English translation below)

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 นายคูอูเหร่ (Khu Ou Reh) ประธานพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (Karenni Progressive Party -KNPP) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวชายขอบถึงสถานการณ์การสู้รบในรัฐคะเรนนี ทำให้มีชาวบ้านกว่า 3 พันคนหนีภัยการสู้รบเข้ามาหลบอยู่ฝั่งไทยด้าน อ.แม่สะเรียง และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอนว่า หลังจากกองกำลังร่วมของกองทัพคะเรนนี (Karenni Army) กองกำลังประชาชนคะเรนนี (KPDF) ได้ปฏิบัติการยึดฐานของพม่า ได้อย่างน้อย 3 แห่ง ล่าสุดเวลานี้กองทัพพม่าได้พยายามส่งกำลังพลเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางบก คือมาทางเมืองลอยก่อ และบอลาเค ส่วนฐานที่อยู่ห่างไกล ใกล้ชายแดนไทย คือแม่แจ๊ะ (Mese) ได้มีการส่งกำลังทหารเข้ามาทางเฮลิคอปเตอร์

“คาดว่าทหารพม่าจะโจมตีซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อีกอย่างแน่นอน สถานการณ์ของประชาชน ค่อนข้างน่าเป็นห่วง หากมีการโจมตีก็อาจทำให้ประชาชนต้องหนีภัยความตายมายังชายแดน ซึ่งหลายวันที่ผ่านมาก็มีเครื่องบินมาวนเพื่อทิ้งระเบิด และการโจมตีโดยกองทัพพม่าอาจเกิดขึ้นที่จุดอื่นๆ อีกด้วย” นายคูอูเหร่ กล่าว

นายโกเหร่ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรประชาสังคมคะเรนนี (KCSN) กล่าวว่าขณะนี้ได้มีการประเมินสถานการณ์ผู้อพยพที่ชายแดนไทย เนื่องจากมีการส่งกองกำลังทหารพม่าเข้ามาเพิ่มอีกหลายร้อยราย โดยส่วนใหญ่มาจากเมืองหลวงที่ลอยก่อ ตรงเข้ามายังเมืองผาซอง ริมแม่น้ำสาละวิน และข้ามสะพานแม่น้ำสาละวินมายังฝั่งตะวันออก ใกล้พรมแดนไทย

“คาดว่ากองทัพพม่าจะมีการโจมตีประชาชนเพิ่มขึ้นอีกในสัปดาห์หน้า ซึ่งตัวเลขผู้พลัดถิ่นภายในของรัฐคะเรนนีที่เครือข่ายฯ ได้สำรวจ พบว่ามีสูงถึง 202,115 คน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด” นายโกเหร่ กล่าว

นายสันติพงษ์ มูลฟอง ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา นายอำเภอแม่สะเรียงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมประชุมโดยมีการประเมินสถานการณ์การสู้รบในรัฐคะเรนนีซึ่งคาดว่าจะมีชาวบ้านจากฝั่งรัฐคะเรนนี้หนีภัยการสู้รบเข้ามาหลบในฝั่งไทยเพิ่มขึ้น และน่าจะอยู่อีกพักใหญ่ อย่างไรก็ตามปัญหาในตอนนี้คือเรื่องที่พักอาศัย ห้องน้ำ น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหาร และการเจ็บป่วย

นายสันติพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยซึ่งตอนนี้ทหาร ฝ่ายปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งสร้างที่พักชั่วคราว และประสานไปยังกรมชลประทานเพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องการดูระบบน้ำ ขณะเดียวกันจะมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยร่วมโดยมีสภากาชาด อ.แม่สะเรียง เป็นแกนหลัก นอกจากนี้จะมีการจัดระบบข้อมูลเรื่องสิ่งของที่จำเป็น ระบบการขนส่งเพราะศูนย์พักพิงชั่วคราวนี้อยู่ไกลและเส้นทางยากลำบาก โดยจะทำแผนความร่วมมือกันต่อไป

นายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง กล่าวว่าชาวบ้านเริ่มทะลักเข้ามาจำนวนมากจากที่คิดไว้หลักร้อย แต่วันนี้มากว่า 3 พันคนแล้ว ทางการพยายามให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยสร้างที่พักชั่วคราวเพื่อแยกผู้หนีภัยจากบ้านชาวบ้านท้องถิ่นเพราะจัดระเบียบให้ง่ายขึ้น  ขณะเดียวกันในเรื่องของข้าวของบริจาคได้รับมอบหมายจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า กรณีที่มีผู้มาบริจาคข้าวของให้มาแจ้งได้ที่กิ่งกาชาดแม่สะเรียง ซึ่งเขาจะแจ้งไปทางทหาร หากอนุญาตก็จะมีการทำทะเบียนและอนุญาตให้นำข้าวของขึ้นไปบริจาค ซึ่งเรื่องนี้ต้องประสานกับทหารตลอด หากไม่ผ่านกิ่งกาชาด ทหารจะไม่ให้ขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยระยะทางที่ไกลและเดินทางลำบาก อนาคตอาจไม่ให้ผู้บริจาคต้องเข้าไปเอง

ผู้หนีภัยการสู้รับจากรัฐคะเรนนีที่หนีตายข้ามมาฝั่งไทยด้าน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

“สำหรับผู้หนีภัยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ทั้งเด็กและผู้ป่วย ตอนนี้มูลนิธิฯ และองค์กรต่างๆ ได้นำข้าวของมาบริจาคเสริมตลอด เราทยอยเอาไปให้อยู่เรื่อยๆ ทั้งนมกล่อง และยารักษาโรค มีการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เรามีทีมสาธารณสุขดูอยู่ และยังมีการจัดทีมเข้าไปดูแลสุขภาพ ส่วนอาหารการกินยังพอเพียงอยู่ และมีการประเมินกันทุกๆสองวัน ” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการประเมินว่าอาจมีผู้หนีภัยเพิ่มจำนวนขึ้นอีกเรื่อยๆ จะรองรับได้หรือไม่ นายอำเภอแม่สะเรียงกล่าวว่า คงต้องประเมินสถานการณ์เป็นครั้งๆ ไป จริงๆ แล้วพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ แต่เราพยายามทำให้ดีที่สุด

เมื่อถามว่าเรื่องระบบสาธารณูปโภคจะเพียงพอหรือไม่ นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีองค์กรเอกชนช่วยเหลือ เรื่องการจัดทำห้องสุขา ขณะที่กรมชลประทานได้หาแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วยต่างๆ มีการบริจาคถังเก็บน้ำ และกำลังดูน้ำประปาภูเขา สวนน้ำดื่มนั้นใช้น้ำขวดที่ได้รับบริจาคเป็นหลัก

สำหรับปัญหาที่หลายคนเป็นห่วงเรื่องโรคระบาด เช่น มาลาเรีย นั้น นายอำเภอแม่สะเรียงกล่าวว่า ได้มีทีมควบคุมโรคขึ้นดูแลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยฉีดพ่นยาไล่ยุงที่หากินช่วงหัวค่ำ และแจกยาทากันยุงที่ได้รับจากเหล่ากาชาดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งมุ้งที่มีผู้บริจาคทยอยมาเรื่อยๆ กำลังนำเข้าไป

ขณะที่สำนักข่าวออนไลน์ของพม่า Khit Thit Media รายงานว่า ที่เมืองขิ่นอู ภาคสะกาย ตอนกลางของพม่า ตั้งแต่เช้าตรู่ เวลาประมาณ 5.30 น. กองทัพพม่าได้บุกยิงและเผาบ้านเรือน ส่งผลให้ประชาชนชาวพม่ากว่า 4,000 คนจากกว่า 8 หมู่บ้านต้องพากันหอบลูกจูงหลานหลบหนีออกจากพื้นที่ โดยบางส่วนต้องใช้เกวียนขนข้าวของหนีตายเนื่องจากตกอยู่ในสภาพยากลำบาก

สำนักข่าวพม่ารายงานว่า ชาวบ้านเล่าว่า กองทัพพม่าบุกโจมตีหมู่บ้านของตน และเผาบ้านเรือนประชาชน ทหารพม่าผู้ก่อการร้าย 200 นายเดินทัพเข้าสู่เมืองขิ่นอู เปิดฉากยิงด้วยอาวุธขนาดเล็กและใหญ่ และโจมตีเมืองโดยทหารพม่าได้จับชาวบ้านบางคนเป็นตัวประกันด้วย

(Translation from Thai)

Myanmar junta reportedly sends hundreds of reinforcements in Karenni state, bordering Mae Hong Son. More refugees expected.

On June 18 , 2023 , Khu Ou Reh, chair of the Karenni Progressive Party ( KNPP ), told Transborder News about the situations in Karenni state, which has led to more than 3,000 new refugees fleeing the fighting to Mae Sariang and Khun Yuam districts, Mae Hong Son Province. This started on June 13th, when joint forces of the Karenni Army, the Karenni People ‘s Forces (KPDF), and other allies, seized at least three Myanmar military and police posts. KNPP Chair said there has recently been reinforcement by the Myanmar military regime (officially known as State Administration Council-SAC), from Loikaw to Bawlake and Mese. Some troops were already dropped by helicopters, and still on-going. He said the increased militarization by the junta will definitely affect the people, who are already displaced, in the area, and there will be more refugees.

Ko Reh, coordinator of the Karenni Civil Society Network ( KCSN), said the situation of migrants at the Thai border is now being assessed. It is reported that hundreds of Burmese troops have been sent to Pasawng on the Salween River, and cross the River to the east side near the Thai border.

“The number of internally displaced people in Karenni State surveyed by the KCSN is reaching 202,115. They are in fragile sitations, ” said Mr. Kore .

Mr. Santipong Moonfong, Manager of the Legal Status Network Foundation, Mae Hong Son Province said that Mae Sariang District Sheriff invited relevant agencies to the meeting to assess the situations in Karenni State, and expected more refugees fleeing the fighting to Thailand. The problems right now at the temporary camps are housing, toilets, drinking water, running water, food and illness.

Mr. Santipong said that the meeting discussed guidelines for cooperation In helping the refugees. Thai military, state agencies, local communities and NGOs, are rushing to build temporary shelters and coordinating with the Royal Irrigation Department for assistance in looking at the water system. The joint refugee assistance coordination center, with the Red Cross Mae Sariang District, was established.

Mr. Surachet Puinoi, Mae Sariang District Chief said that the number of refugees is likely to increase. At present, there are already over 3,000 just-arrived refugees. If allowed, there will be a registration and permission to bring donations to the camps. The location of the camps is remote, and difficult to travel to.

“For vulnerable refugees such as young children, pregnant women, and patients, have been taken care of by foundations and charities. There are public health teams working. The food is still sufficient. And there will be situation assessments every two days. We are trying our best,”said Mr. Surachet.

Myanmar’s online news agency, Khit Thit Media, reported that in Khin-Ou township, Sagaing region, early in the morning, around 5.30 am, the Burmese troops began shooting and burning houses. As a result, more than 4,000 people from more than 8 villages had to flee the area immediately.

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →