Search

พม่าติดอันดับประเทศอันตรายที่สุด ประชาชน 1 ใน 3 ต้องการความช่วยเหลือด่วน

สำนักข่าว Irrawaddy ได้รายงานเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถิติต่างๆ ซึ่งพบว่า พม่าติดสถิติในหลายด้านเลวร้ายสุดของโลก เช่น เป็นประเทศที่จำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อมากที่สุดในโลกรองจากจีน หรือกลายเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดในอาเซียนและในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีเหนือ เป็นต้น

ขณะที่ครบรอบ 3 ปี ที่กองทัพยึดอำนาจและทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประชาชนในพม่าอย่างน้อย 4,474 คน ถูกสังหาร และพลเรือนมากกว่า 25,000 คน ถูกจับกุมขัง เช่นเดียวกันบ้านเรือนของชาวบ้านกว่า 78,000 หลังคาเรือนทั่วประเทศถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเสียหาย อันเป็นผลมาจากกองทัพพม่าต้องการสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชนของตัวเอง 

ผลจากความไม่สงบในประเทศหลังยึดอำนาจ ทำให้ประชาชนในพม่าราว 18.6 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วนในปีนี้ เปรียบเทียบที่ตัวเลขเพียง 1 ล้านคนเท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมก่อนหน้าการรัฐประหาร

ด้านองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ได้ออกมาเปิดเผยว่า พม่ายังกลายเป็นประเทศหิวโหย เช่นเดียวกับประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถานเป็นต้น โดยประชากร 1 ใน 4 เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร โครงการอาหารโลกรายงานว่า ความไม่มั่นคงด้านอาหารในพม่านั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งล่าสุด ส่งผลกระทบต่อผู้คน 12.9 ล้านคน

ด้านองค์กร Global Peace Index 2023 ออกรายงานว่า ภายใต้การบริหารของกองทัพพม่านั้น พม่ากลายเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยติดอยู่ที่อันดับ 18 ซึ่งตามด้วยประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศเดียวที่อันตรายที่สุดในบรรดาประเทศอาเซียน  นอกจากนี้ พม่ายังติดสถิติเป็นคุกที่ใหญ่ที่สุด จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 คุกพม่ายังคงขังคุมนักโทษทางการเมืองจำนวน 19,993 คน รวมถึงนักโทษหญิง3,780 รวมอยู่ด้วย จากข้อมูลขององค์กรช่วยเหลือนักโทษการเมือง AAPP

ผู้ที่ถูกจับกุมเหล่านี้ มีทั้งผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง นักศึกษาเยาวชนรุ่นใหม่ที่เคยทำงานหรือต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ และสิทธิต่างๆ รวมอยู่ด้วย ในขณะที่อาชญากรในเครื่องแบบทหารที่ก่ออาชญากรรมสงครามกลับเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ องค์กร AAPP ยังรายงานว่า มีนักข่าวอีกจำนวน 192 คน ที่ถูกจับกุมตั้งแต่รัฐประหาร โดยจำนวน 61 คน ยังคงถูกกุมขังจนถึงขณะนี้ โดยพม่าติดอันดับ 173 จาก 180 ประเทศที่จำกัดเสรีภาพสื่อ

ด้านสถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายใน (IDP)  UNHCR รายงานว่า มีประชาชนอย่างน้อย 2.6 ล้านคนที่ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน โดยจำนวน 2.3 ล้านคน ต้องถูกบังคับให้เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศพม่านับตั้งแต่มีการรัฐประหารยึดอำนาจเกิดขึ้น ผู้พลัดถิ่นภายในกว่า 70,000 คน อพยพถิ่นฐานไปยังประเทศเพื่อนบ้านในฐานะผู้ลี้ภัยได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกัน ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาจำนวน 1 ล้านคนยังคงอยู่ในบังกลาเทศหลังถูกปราบปรามอย่างหนักจากกองทัพพม่า  และพม่ายังเป็นประเทศที่มีการคอรัปชันมากที่สุด

On Key

Related Posts

หวั่นดินโคลนไหลตามลำน้ำสายปนเปื้อน ผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการจี้รัฐเร่งตรวจสอบ-กลัวแพร่กระจาย หลังฝนตกห่าใหญ่ท่วมขังประจานมาตรการรับมือ-แจ้งเตือนภัยพิบัติ

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ในช่วงบ่าย 15.00 น.นายชRead More →

ชาวนาลุ่มน้ำกกนับแสนไร่หวั่นแช่สารพิษระหว่างดำนา สภาเกษตรกรเชียงรายจี้รัฐชี้แจงด่วน เผยทุกข์ซ้ำหลังจากราคาข้าวตก ผวจ.เชียงรายเผยตรวจคุณภาพน้ำ-ตะกอนดินได้ไม่ต่อเนื่องเหตุข้อจำกัดด้านห้องปฎิบัติการ

นายวรวัฒน์ เดชวงค์ยา สาธารณสุขอำเภอแม่อาย เชียงใหมRead More →