สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ร้องกสม.มาเลย์ชะลอสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ชาวบ้านไทย-เขมรหวั่นผลกระทบแม่น้ำโขง ทนายชี้ยังไม่ผ่านการรับฟังความเห็นจากเพื่อนบ้าน

3

 

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เวลา 10.00 น. ตัวแทนภาคประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขง จากประเทศไทยและกัมพูชาประมาณ 10 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)มาเลเซีย (SUHAKAM) กรณีที่บริษัทเมกาเฟิส สัญชาติมาเลเซียจะก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง กั้นแม่น้ำโขงที่ลาวใต้ ใกล้ชายแดนกัมพูชา โดยมีพบนาย James Nayagam กรรมการสิทธิมนุษยชนมาเลเซียเป็นผู้รับเรื่อง

นส.ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่าวันนี้มีตัวแทนจากประเทศกัมพูชาที่มาจากจังหวัดกระเจะ และจังหวัดสตึงเตรง ส่วนตัวแทนจากประเทศไทย คือ นายสมพงษ์ ดาวเรืองรำ จากอำเภอสำโรง นายอุดม แสงพงษ์ จากอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย

“ที่เรามาวันนี้เพราะโครงการเขื่อนดอนสะโฮงยังไม่ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ไทยกัมพูชา และยังไม่ดำเนินการตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 และกระบวนการแจ้งและปรึกษาหารือล่วงหน้า หรือ PNPCA วันนี้ได้นำเสนอข้อมูลโครงการเขื่อนดอนสะโฮง ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการอพยพของปลาแม่น้ำโขง และโลมาอิรวดี ”

นาง สาวส.รัตนมณี กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องขอให้ทางกสม.มาเลย์ ตรวจสอบให้บริษัทเมกาเฟิร์ส หยุด โครงการและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน เนื่องจากเขื่อนดอนสะโฮงจะส่งผลกระทบข้ามพรมแดนเช่นเดียวกับเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งควรจะต้องมีการดำเนินการตามข้อตกลงแม่น้ำโขงและ PNPCA ต้องให้ข้อมูลข่าวสาร มีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เห็นว่ากสม.มาเลย์น่าจะรับเรื่องได้เช่นเดียวกับที่กสม.ไทย เคยรับเรื่องกรณีเขื่อนไซยะบุรี เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหน้าที่การให้ความคุ้มครองผลกระทบข้ามพรมแดน หรือExtraterritorial Obligation
นางเสม วอน ประชาชนจากจังหวัดกระเจะ กล่าวว่าเขื่อนจะกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนในกัมพูชาอย่างมาก โดยเฉพาะหมู่บ้านของตนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง “ที่บ้านเรา คนต้องพึ่งพาน้ำโขง อาหารก็ต้องพึ่งพาปลาจากโขง ขอให้ทุกฝ่ายหยุดการสร้างเขื่อนนี้ทันที”

นายโฮต เซือน ประชาชนจากจังหวัดสตึงเตรง กล่าวว่าผละกระทบอีกประการหนึ่งคืออาชีพของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้กับหัวงานเขื่อน “ที่บ้านเราทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีนักท่องเที่ยวมาดูโลมา แต่แหล่งอาศัยของโลมานั้นห่างจากจุดสร้างเขื่อนดอนสะโฮงเพียง 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการหาปลา โครงการดอนสะโฮงไม่เคยมีการมาจัดประชุมชี้แจงข้อมูล ไม่เคยมีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนทั้งสิ้น ชาวบ้านขอเรียกร้องให้มีการจัดทำการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน และจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน” นายโฮต กล่าว

นายอุดม แสงพงษ์ กล่าวว่า ผลกระทบของดอนสะโฮงอาจจะเหมือนกับเขื่อนปากมูล ซึ่งสร้างมา 20 กว่าปีแล้วแต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนจนถึงปัจจุบัน “ถึงแม้แม่นำมูลจะเป็นแม่น้ำสาขาของน้ำโขง แต่เชื่อว่าเขื่อนดอนสะโฮงจะกระทบชุมชนของพวกเราแน่ เพราะอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขง หากมีเขื่อนกั้น ปลาแม่น้ำโขงจะไม่สามารถขึ้นมาทางตอนเหนือของเขื่อน ซึ่งคือภาคอีสานของไทย และจะกระทบต่อชุมชนริมโขงฝั่งไทย”

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า “เขื่อนดอนสะโฮงจะส่งผลกระทบข้ามพรมแดน แต่ยังไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่มีการให้ข้อมูลแก่ประชาชน ผมเองเพิ่งทราบว่าจะมีการสร้างเขื่อนนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ แต่จนตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลจากทางหารหรือเจ้าของเขื่อนเลย”
นาย เจมส์ กสม.กล่าวว่ากรณีนี้เป็นกรณีแรกของกสม.มาเลย์ที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดน จะรับไว้พิจารณาเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าว โดยจะมีการนำเรื่องเข้าคณะกรรมการเพื่อพิจารณา หากกสม.ชุดใหญ่รับพิจารณาตรวจสอบก็มีการเชิญให้มีการประชุมตรวจสอบต่อไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ

ต่อมาในช่วงบ่าย คณะชได้เดินทางไปสำนักงานใหญ่บริษัทเมกาเฟิร์สเพื่อยื่นหนังสือ แต่ได้รับคำตอบว่าไม่มีเจ้าหน้ารับผิดชอบอยู่ เนื่องจากทั้งหมดอยู่ที่สำนักงานกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว แต่เจ้าหน้าที่รับหนังสือไว้เพื่อส่งต่อ คำตอบดังกล่าวสร้างความงุนงงแก่ประชาชนที่ไปยื่นหนังสือ พากันวิจารณ์ว่าจะเป็นไปได้อย่างไรที่สำนักงานใหญ่ไม่มีคนทำงานเรื่องโครงการนี้

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →