สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

กสม.เตรียมยื่นหนังสือจี้ รัฐบาลไทย เร่งเยียวยาชาวทวาย ก่อนเดินหน้าโครงการเศรษฐกิจรอบใหม่

image

เมื่อวันที่ 21  ตุลาคม  2557   เวลาประมาณ  13.00  น.   ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนของชาวทวาย ประเทศพม่า กรณีได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทวาย   (Dawei Special Economic Zone – DSEZ)  ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งชาวบ้านทวายซึ่งเดินทางมาจากพม่าเข้าร่วมโดยมี นพ.นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน

ทั้งนี้ในการประชุมได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยมีการนำเสนอข้อมูลปัจจุบันต่อการดำเนินโครงการทวาย ประกอบด้วยตัวแทนจาก  สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  สำนักความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้าน   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)    สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ส่วนบริษัทอิตาเลี่ยนไทย หรือ ITD ซึ่งได้รับเชิญให้มาร่วมชี้แจงครั้งนี้ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้แล้ว

ตัวแทนจากสภาพัฒน์ ระบุว่าโครงการทวาย แบ่งออกเป็นหลายส่วน โดยระยะแรกนั้นมีการลงนามร่วม (MOU)  กันระหว่างรัฐบาลไทย ทุนไทย และรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปี 2555 โดยมีการตั้งคณะกรรมการระดับสูงร่วมกัน และมีคณะกรรมการย่อยอีกหลายส่วนเพื่อดำเนินการ ส่วนแรก คือ เรื่องการสร้างถนนเชื่อมต่อชายแดนไทย  อุตสาหกรรมเล็ก  ท่าเรือน้ำลึก และระบบคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหญ่

ต่อมาเมื่อ ปี  2556  ได้มีการโอนข้อมูลให้กับบริษัททวายเดเวลอปเมนท์ลงทุนร่วมกับบริษัทอิตาเลี่ยนไทย (ITD) และเชิญนักลงทุนกับญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุน  โดยที่คณะกรรมการระดับสูงที่ตั้งขึ้นมามีหน้าที่ให้คำปรึกษาและคัดเลือกนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ  ซึ่งมีการทำถนนบางส่วน โดยมี ITD ดำเนินการก่อสร้าง หลังจากนั้น ITD แจ้งกับสภาพัฒน์ ฯ และผู้ร่วมลงทุนว่าหมดงบประมาณในการดำเนินการ จึงระงับโครงการไว้ ส่วนสัญญาที่ทำไว้นั้นเป็นแค่ ยังอยู่ในขั้นตอนของการเสนอเงื่อนไขการลงทุน ยังไม่มีการสร้างสัญญาสัมปทานเบ็ดเสร็จร่วมกัน  จึงยังไม่ได้ดำเนินการมากมาย

ส่วนรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ : EIA ) นั้น ITD ดำเนินการจัดหานักวิจัยมาดำเนินการพื้นฐานโครงสร้างการรองรับของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น การจ่ายค่าชดเชยที่ชาวบ้านเรีกร้อง  สภาพัฒน์ฯ หรือรัฐไทย จึงไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าใครจะรับผิดชอบ

ตัวแทนจากสำนักงานร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า  เมื่อปี 2553  กรณีที่ทาง ITD  มีการเซ็นสัญญาดำเนินการไปบ้างแล้วนั้น เป็นความตกลงกันระหว่างรัฐบาลพม่ากับบริษัทฯ ไม่ได้มีการตกลงระดับมหภาค เรื่องการจ่ายค่าชดเชย  ต่อมาเมื่อยกเลิกสัญญาปี 2556 และกรณีการลงทุนใหม่ยังไม่ทราบว่าใครจะมารับผิดชอบ เพราะยังไม่มีการทำสัญญาใหม่กับบริษัทใหม่ ดังนั้นกรอบการรับผิดชอบจึงยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจน แต่คิดรัฐบาลพม่าที่มีการลงนามร่วมกัน น่าจะมีมาตรฐานสากลในการรับผิดชอบประชาชนของเขาเอง

image

ดร.กัลยา สุนทรวงศ์สกุล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมทำอีไอเอ  กล่าวว่า เรื่องการศึกษาผลกระทบมีการดำเนินการ 2 ครั้งในระยะแรก คือ การศึกษาผลกระทบจากการสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและโครงการทวาย (Road link) ทั้งด้านสังคม คุณภาพชีวิต โดยมีการรายงาน ITD รับทราบไปแล้ว ถึงข้อเสียและผลที่อาจเกิดขึ้น  โดยเบื้องต้นพบว่าการตัดถนนนั้นไม่ผ่านกติกาของธนาคารโลก (world Bank )  โดยมีเสียงต่อต้านจากชาวบ้านและมีการร้องเรียนข้อกังวลมาอย่างต่อเนื่อง  โดยประเด็นแรกที่ชาวบ้านกังวล คือ  1 การสร้างถนนนั้นสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นเรื่องปกติคล้ายกับการสร้างมอเตอร์เวย์ในทุกประเทศ

ดร.กัลยา กล่าวว่า 2  การสร้างถนนสัญจรในพื้นที่ชายแดนไทย พม่า นั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อชาวทวาย เพราะชาวทวายไม่ได้ใช้ถนนในการขนส่งพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากส่วนมากใช้เกวียนและรถอีแต๋นพื้นบ้าน หรือรถไถท้องถิ่น ไม่ได้ใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ และยังสร้างผลกระทบต่อการตัดวงจรระบบนิเวศในแม่น้ำตาไลยาห์ ที่ทวายด้วย เกิดตะกอนมากมายจากการตัดถนน และยังมีผลต่อการทำลายต้นไม้ และสภาพแวดล้อมในชุมชนด้วย

3  ประชาชนไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ จากการตัดถนนเชื่อมเส้นทางดังกล่าว

4 การสร้างถนนนั้นเกิดเป็นการปิดกั้นเส้นทางการสัญจรของช้างป่า ที่ชายแดนไทย จังหวัดกาญจนบุรี โดยทาง ITD ได้มีการเสนอข้อมูลทางออกนี้ให้สร้างสะพานสำหรับการข้ามถนนของสัตว์ ซึ่งรายละเอียดให้มีการศึกษาเชิงวิศวกรรมอีกครั้ง

“นอกจากข้อกังวลหลายด้านที่กล่าวมาแล้ว จากการลงพื้นที่ศึกษาคุณภาพชีวิตและข้อกังวลระยะยาว เรายังทราบด้วยว่า ชาวบ้านไม่ให้การยอมรับความเจริญของถนนที่อาจเกิดขึ้น เพราะส่วนมากชาวทวายพอใจกับการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม และยังกลัวว่าจะสูญเสียที่ดินการเกษตรอย่างมาก นอกจากนี้ในอนาคตหากมีการสัญจรของคนแปลกถิ่น เป็นไปได้ว่า อาจมีการนำโรคติดต่อมาสู่คนทวายด้วย ชาวบ้านจึงปฏิเสธการสร้างถนน โดยทางทีมวิจัย ได้รายงานผลกระทบไปหมดแล้ว แต่ความรับผิดชอบดังกล่าวเป็นเรื่องของบริษัทในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจเจรจาร่วมกันเมื่อใดก็ได้ แต่ในส่วนของชาวบ้านนั้นไม่เชื่อว่า บริษัทจะรับผิดชอบได้ และไม่เชื่อว่าความเจริญจากการสร้างนถนนจะช่วยให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามเรื่องการรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบริษัท  เพราะหน้าที่ของนักวิจัย คือ การศึกษาตามสภาพความเป็นจริงในส่วนถนนเชื่อมต่อเท่านั้น ไม่ใช่การศึกษาทั้งโครงการฯ กรณีเขื่อน นิคมอุตสาหกรรม และกรณีอื่นๆ เป็นหน้าที่ของผู้ทำสัญญาและการว่าจ้างนักวิจัย ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง ”ดร.กัลยา กล่าว

ด้านนายออง มิน  ตัวแทนชาวบ้านทวายซึ่งได้รับผลประทบ กล่าวว่า  ขณะนี้การดำเนินการโครงการทวายนั้นยังดำเนินการอยู่ โดยส่วนที่ใกล้แล้วเสร็จ คือ ถนนเชื่อมต่อชายแดนไทย พม่า ไม่มีใครเข้ามาคุยเรื่องการจ่ายค่าชดเชยให้ ทั้งนี้ในส่วนของครอบครัวตนเสียที่ดินในการสร้างถนนไปแล้ว มีรถไถเข้ามาแต่งถนน และยังมีการสัญจรไปมาเสมอ ตนและเพื่อนบ้านถูกสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่ โดยทางบริษัทมีการเสนอว่าจะจ่ายเงินให้ แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับเงินชดเชย

นายซู ปาย ตัวแทนจากหมู่บ้านกะโลนท่า  กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการประชุมรับทราบข้อมูลการก่อสร้างและการดำเนินโครงการใดๆ การก่อสร้างเป็นเรื่องระหว่างนักธุรกิจกับรัฐบาลทั้งสองประเทศ  แต่ปัญหาใหญ่กับเกิดกับชาวบ้าน คือ ไม่ได้รับค่าชดเชยเวรคืนที่ดิน เกิดปัญหานายทุนกว๊านซื้อที่ดินในราคาถูกเพื่อเก็งกำไร  การสร้างถนนเชื่อมต่อสร้างความแปรปวนทางสิ่งแวดล้อม เช่น ดินถล่ม ดินสไลด์ และเกิดตะกอนในแม่น้ำสำคัญ ที่ดินทางการเกษตรเสียหาย

ขณะที่ นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า จากที่ได้ฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายแล้วนั้น กสม.จะดำเนินงานในฐานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ตามปฏิญญาข้อตกลงร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน   คือ 1 สรุปแล้วว่ามีผลกระทบในพื้นที่จริง ทั้งนาข้าว ไร่หมาก นาเกลือ และประมง  โดยจะทำหนังสือแจ้งต่อนายกรัฐมนตรี คือ  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบริษัท ITD ให้รับผิดชอบและเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ โดยจะแจ้งให้ทราบภายใน 2 สัปดาห์ และ 2  ทำข้อเสนอให้รัฐบาลมองการพัฒนาในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ในการพัฒนาทุกด้าน ไม่ใช่การพัฒนาแค่ด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน  และจากกรณีการพบรัฐบาลพม่าของนายกฯ ต่อกรณีการเดินหน้าโครงการทวายนั้นน ทาง กสม.อยากเสนอให้เร่งศึกษา EHIA และ EIA ให้เรียบร้อย ตรงตามมข้อเท็จจริงและจัดให้มีร่วมภาคพื้นที่ ทุกๆ การลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยและพม่า

On Key

Related Posts

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →

กองทัพ KNDF-KNPP ยึดพื้นที่รัฐคะเรนนีได้ 90% โดยเฉพาะหลายเมืองติดชายแดนไทย ส่วนทัพโกก้างเริ่มฟื้นฟูเมืองเล่าก์ก่ายหลังสงครามสงบชั่วคราว ขณะที่ทัพอาระกันรุกคืบพื้นที่-กลไกรัฐยะไข่ราชการหยุดทำงาน

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 สำนักข่าว Myanmar Now แRead More →

ชาวบ้านสามพร้าวยื่นหนังสือ 4 หน่วยงาน เผยถูกรัฐขับไล่ออกจากที่ทำกินกว่า 500 ไร่ เตรียมสร้างวิทยาลัยแพทย์ เคยร้องเรียนตั้งแต่ปี 65 ไร้ความคืบหน้า หวังเร่งแก้ปัญหาเยียวยาผลกระทบ

วันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ศาลากลางจังRead More →