Search

ชาวบ้านสงขลาเฮ ศาลปกครองตัดสินโครงการสร้างเขื่อนกันกัดเซาะหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ มิชอบ ทนายความชี้เป็นคดีตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม

beach
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 นายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานชมรม Beach For Life เปิดเผยว่า ตนในฐานะผู้ฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งร่วมกันฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส) จังหวัดสงขลา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า และ เทศบาลนครสงขลา ต่อศาลปกครองสงขลา กรณีดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นเมื่อปี 2558 นั้น ล่าสุดวานนี้ (25 ตุลาคม) ศาลปกครองสงขลา ได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าว (คดีปกครองที่ ส.2/2558) แล้ว โดยศาลพิพากษาให้ผู้ฟ้องชนะคดี และวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลสั่งให้จังหวัดสงขลา และ ทส.ไปคุยกันถึงแนวทางใหม่แต่ไม่ได้มีผลในทางอาญา

นายอภิศักดิ์กล่าวว่า เนื่องจากการแก้ปัญหาที่ผ่านมาด้วยโครงการปรับปรุงกัดเซาะชายหาดโดยวิธีการวางโครงสร้างกำแพงกันคลื่นของโครงสร้างแท่งริมหาดสมิหลาฯ นั้นได้ถูกปรับยกเลิกไปแล้ว ศาลจึงไม่ต้องมีคำบังคับเพิ่มเติม แต่ว่าในส่วนการปรับปรุงการจัดซื้อทรายโดยวิธีการขุดลอกทรายเพื่อนำไปเติมทรายชายหาดสมิหลา หาดชลาทัศน์นั้น เป็นโครงการที่ต้องมีการดูดทรายนอกชายฝั่งจึงต้องได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อน ไม่ได้ขออนุญาต ก็เท่ากับผิดกฎหมายเช่นกัน แม้ไม่มีคำสั่งศาลเรื่องการชดใช้ ชดเชยอะไรเพราะไม่ได้มีความเสียหายรุนแรง แต่อย่างน้อยก็ได้ชะลอโครงการออกไป ซึ่งส่วนตัวคิดว่าคำพิพากษาน่าพอใจ

นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้แม้ศาลจะมีคำพิพากษาออกมาเช่นนี้ และเป็นผลดีต่อผู้ฟ้องทั้งหมดก็ตาม แต่ทางชมรมจะยังคงเดินหน้าเพื่อปกป้องชายหาดต่อไป เพราะแม้โครงการใหญ่การสร้างกำแพงกันคลื่นจะยุติลงแล้วแต่ก็ยังมีโครงการของเทศบาลหลายส่วนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชายหาด เช่น การสร้างถนนคอนกรีตในชุมชนที่ไม่มีระบบป้องกันที่เหมาะสม ซึ่งทางชมรมจะติดตามต่อไป และหากพบเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมและระบบนิเวศเกินควรทางชมรมอาจจะมีการเคลื่อนไหวต่อไป

“สมัยนี้มันเป็นสมัยใหม่แล้ว ชายหาดที่สวยงามมีน้อย อยากให้รักษาไว้และจะก่อสร้างอะไรต้องกระทบธรรมชาติน้อยที่สุด อย่างสมิหลา ชลาทัศน์ คือมีความสวยงามและมีคนหลายภาคส่วนเข้ามาใช้ประโยชน์ และสภาพแวดล้อมก็ยังสมบูรณ์อยู่ เราทุกคนควรเห็นคุณค่าของชายหาดที่คู่กับทะเลไม่ใช่เร่งแต่จะสร้างโครงสร้างแข็งเพราะกลัวว่าจะเกิดภัยพิบัติจากคลื่น” นายอภิศักดิ์ กล่าว

ด้านนางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า กรณีคดีหาดชลาทัศน์ นี่มีความสำคัญอย่างหนึ่งตรงที่ศาลวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีนั้นมีการรวมกลุ่มที่หลากหลายกลุ่มแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ปกป้องชายหาด และใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไทย อีกทั้งดำเนินการภายใต้สิทธิพระราชบัญญัติ(พรบ.)ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุไว้ว่า ชุมชนต้องมีส่วนร่วมจัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง นับเป็นคดีสิ่งแวดล้อมตัวอย่างที่ดี แม้ศาลจะไม่มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจ่ายเงินกองทุนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 20 ล้านบาทที่ทางผู้ฟ้องเคยร้องเรียนไปก็ตาม แต่อย่างน้อยศาลก็พิจารณาอย่างละเอียด และคดีนี้ถือเป็นคดีสิ่งแวดล้อมตัวอย่างที่ดีเนื่องจากเป็นคดีในลักษณะป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสาธารณะ

นางสาวส.รัตนมณีกล่าวว่า แม้ยังไม่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ตาม แต่การปกป้องคือหนทางที่ดีที่สุด ที่สำคัญคือในคำวินิจฉัยระบุด้วยว่า แม้ทางจังหวัดและ ทส.จะพยายามอย่างมากในการอ้างว่าจำเป็นต้องป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ส่วนนี้ศาลตีความว่า โครงการก่อสร้างทุกอย่างที่ดำเนินการไปนั้นไม่ใช่โครงการ ป้องกันภัยพิบัติ จึงไม่จำเป็นต้องก่อสร้างเร่งด่วน และตัวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็มีสิทธิ มีเวลาในการระดมความคิดเห็น รวมทั้งมีโอกาสทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก่อนแต่ไม่ใครปฏิบัติ อีกประเด็นที่ค่อนข้างมีเหตุมีผลคือ คดีนี้ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมาทางผู้ดำเนินโครงการได้พยายามปรับเปลี่ยน ปรับปรุงแผนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่อง เช่น มีการนำแผนการดูดทรายจากที่หนึ่งมาเติมชายหาดอีกที่ ส่วนนี้ศาลเห็นว่าแม้จะเป็นการดำเนินโครงการที่พยายามสะท้อนให้เห็นว่าผู้ดำเนินโครงการพยายามแก้ไข เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมี่สุด แต่ผู้ดำเนินการก็ไม่ได้ทำตามกระบวนการที่ถูกต้อง เช่น ไม่มีการขออนุญาตหน่วยงานที่ดูแลโดยตรง ซึ่งก็คือ กรมเจ้าท่า หากจะดำเนินการต่อก็ต้องขอ ส่วนนี้ยังสับสนอยู่ ดังนั้นหลังจากนีกรมเจ้าท่าเองคงจะต้องมีการทบทวนบทบาทตัวเองเพิ่มเติมเพราะที่ผ่านมา ยังปฏิบัติหน้าที่ไม่เต็มที่

อนึ่ง อ่านข่าวเก่าเรื่องการฟ้องโครงการกัดเซาะชายฝั่ง https://transbordernews.in.th/home/?p=9588

On Key

Related Posts

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →

แหล่งอาชญากรรมริมเมยป่วนหลังถูกกดดันหนัก มาเฟียจีนพล่าน-ชักไม่มั่นใจกองกำลังกะเหรี่ยงเทา เตรียมฉวยจังหวะช่วงตรุษจีนกลับประเทศ แนะรัฐสบช่องเก็บข้อมูลแก๊งอาชญากร

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ทัวร์จีนเมืองชายแดนป่วน นักท่องเที่ยวแดนมังกรหายไป 80% ผู้ประกอบการโอดกรุ๊ปทัวร์ยกเลิกแทบเหี้ยน เผยโลกโซเชียลจีนกระหึ่มหวาดกลัวหนัก เชื่อคนหายนับแสนราย ตั้งคำถามทำไมช่วยไม่ได้เหมือน “ซิงซิง”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จาRead More →