Search

สิงคโปร์รณรงค์ให้คนในชาติแสดงออกต้อนรับแรงงานอพยพ

—————-

โดย Rina Chandran มูลนิธิ ธอมสัน รอยเตอร์ส

สรุปความโดย บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

—————-

หลังสิงคโปร์มีแผนเร่งด่วนสร้างหอพักแรงงานต่างชาติเพื่อลดความแออัด อันเป็นต้นตอการระบาดระลอก 2 ของโควิด-19 ในประเทศ ปัญหาล่าสุดที่รัฐบาลกำลังเผชิญคือภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กและขาดแคลนที่ดิน ตลอดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมเรื่องจุดสร้างพอหักใหม่ในบริเวณที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง ทำให้รัฐต้องออกมาขอร้องให้คนในชาติยอมรับและอดทนกับการดำเนินนโยบายนี้ ทั้งยังรณรงค์ผ่านสื่อโซเชียลที่มีเนื้อหาให้คนสิงคโปร์เห็นอกเห็นใจแรงงานต่างชาติ

จากการรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า 90% ของจำนวนผู้ที่ติดเชื้อสะสม 38,000 คนเป็นแรงงานต่างชาติ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาวด้วยการสร้างหอพักรองรับแรงงาน 100,000 คน ในขณะนี้และอีก 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแรงงานอพยพหลายพันคนได้ถูกย้ายไปอยู่ที่หอพักชั่วคราว 36 แห่งในตัวเมือง หอพักบางแห่งปรับมาจากอาคารโรงเรียนหรืออพาร์ทเมนท์เก่า มาตรการนี้สร้างความกังวลให้กับคนในชุมชนที่แรงงานย้ายไปอยู่ในเรื่องของความปลอดภัย ประเด็นสุขภาพ และราคาอสังหาริมทรัยพ์ในชุมชนที่อาจตกลงเมื่อมีแรงงานย้ายเข้าไปอยู่

    ลอว์เรนซ์ หว่อง (Lawrence Wong) รัฐมนตรีการพัฒนาแห่งชาติสิงคโปร์ ในฐานะประธานแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา ต้องออกมาพูดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสิงคโปร์ที่มีที่ดินจำกัด และมีความจำเป็นที่หอพักใหม่ที่กำลังสร้างอยู่ใกล้กับชุมชนของคนสิงคโปร์ เขาย้ำว่าคนในสังคมต้องละทิ้งความคิด “ไม่ใช่หลังบ้านฉัน” (not in my backyard’ mindset) ออกไป 

    “เราควรซาบซึ้งถึงคุณูปการของแรงงานอพยพที่มีมาตลอด และจะมีต่อไปในการสร้างสิงคโปร์ เราจึงต้องต้อนรับพวกเขาให้มาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน”

    การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแรงงานอพยพเป็นจุดเริ่มต้นให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้นในชาติอันร่ำรวยอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีแรงงานมากถึง 300,000 คน ส่วนใหญ่มาจากบังกลาเทศ อินเดีย และจีน ที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้ต้องอาศัยในหอพักขนาดใหญ่รวมกันถึง 12-20 คนต่อห้อง พวกเขาได้รับค่าจ้างตกวันละประมาณ 20 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือประมาณ 450 บาท

    ก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนา สิงคโปร์มีหอพักให้แรงงานอยู่ 43 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองที่ประชากร 5.6 ล้านคนซึ่งเป็นประชากรหลักอาศัยอยู่ และแน่นอนไม่ได้อยู่ในโซนแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ย่านที่แรงงานอพยพอยู่จึงมีภาพของแหล่งที่พักของคนรายได้น้อยและเกิดภาพจำให้กับคนในทางลบ นำไปสู่การแบ่งแยกเชิงพื้นที่ไปโดยปริยาย

    ประเด็นนี้ อเล็กซ์ อู (Alex Au) รองประธานองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรด้านแรงงาน Transient Workers Count Too แสดงทัศนะว่า คนสิงคโปร์ไม่คุ้นชินกับการมีแรงงานต่างชาติอยู่ไม่ไกลจากพวกเขา อย่างไรก็ตาม ช่วงการตัดวงจรการระบาดของไวรัสโคโรนาในกลุ่มแรงงาน คนสิงคโปร์ก็ออกมาให้ความช่วยเหลืออยู่ ในส่วนการดำเนินการของรัฐ เขาเห็นว่ามีการสื่อสารที่ทำให้เกิดความสับสนอยู่ไม่น้อย ทั้งๆ ที่รัฐเรียกร้องให้คนสิงคโปร์ยอมรับการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างชาติ แต่กลับนำแรงงานไปอยู่รวมกันในค่ายทหารหรือพื้นที่กักกันที่ไม่ต่างอะไรกับเรือนจำ 

    มาตรการล่าสุดที่รัฐบาลออกมาคือไม่อนุญาตให้แรงงานต่างชาติคลุกคลีกันในหอพัก พวกเขาทำได้เพียงการออกจากหอพักมาทำงานเท่านั้น

    นอกจากรัฐบาลที่ได้รณรงค์การอยู่ร่วมกันของคนสิงคโปร์กับแรงงานต่างชาติ กลุ่มประชาสังคมก็ออกมาเคลื่อนไหวด้วย เช่นการรณรงค์ #ต้อนรับสู่หลังบ้านฉัน ทางสื่อโซเชียล บางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมกระตุ้นให้คนให้ส่งข้อความที่แสดงการต้อนรับแรงงาน รวมถึงการจัดเวทีพูดคุยระหว่างผู้ที่อยู่อาศัยกับแรงงานในย่านต่างๆ ขณะนี้มีข้อความยินดีต้อนรับนับร้อยข้อความถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาทมิฬ เบงกาลี และจีน เพื่อทำให้แรงงานจากประเทศต่างๆ รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิงคโปร์ 

——————–

ที่มา: https://bit.ly/2Y0EX5K

หมายเหตุ-บทความชิ้นนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ the Department of Southeast Asia Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย

///////////////////////

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →