Search

“มิน ออง หล่าย” ดันเขื่อนสาละวิน-โรงไฟฟ้าถ่านหิน ในรัฐคะเรนนีปะทะเดือดประชาชนหลายพันต้องหนีออกจากบ้าน

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม2564 เพจข่าวพม่าซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มนักข่าวในพม่าหลังการรัฐประหาร Burma Associated Press เผยแพร่ข้อมูลว่า ผู้นำรัฐประหารพม่า วอนใช้แม่น้ำสาละวินและถ่านหินผลิตไฟฟ้า โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า พล.อ.มิน ออง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่า กล่าวระหว่างการเยือนเมืองตองยี รัฐฉาน ว่าประเทศพม่า มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายในรัฐฉานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งพลังน้ำและถ่านหิน อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ ถูกประชาชนและชาวบ้านคัดค้านมาตลอดสิบปีที่ผ่านมา

ภายใต้รัฐบาลของเต็งเส่ง มีแผนที่จะสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ 6 โครงการในแม่น้ำสาละวินร่วมกับจีน ชาวกะเหรี่ยง แต่ได้ถูกชาวกะเหรี่ยงประท้วงอย่างรุนแรง

“ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน ผู้คนที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำก็ตกอยู่ในอันตรายเช่นกัน พรรคการเมือง  รวมถึงเครือข่ายสิ่งแวดล้อมในรัฐกะยา (คะเรนนี) และรัฐกะเหรี่ยง ร้องเรียนและคัดค้านแล้ว ตามรายงานของสื่อ

นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังถูกต่อต้านจากชาวพม่ามาโดยตลอด นักอนุรักษ์และประชาชนในพื้นที่ ต่างประท้วงต่อต้านมลภาวะทางอากาศและทางน้ำรอบพื้นที่โครงการ

ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินในรัฐฉาน การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่โรงงานปูนซีเมนต์ในรัฐกะเหรี่ยง โรงไฟฟ้าถ่านหินที่โรงงานปูนซีเมนต์ MCL ในเมืองไจมารอว์ รัฐมอญ  (ปากแม่น้ำสาละวิน) กลายเป็นประเด็นที่ประชาชนโวยวายอย่างต่อเนื่อง” เพจข่าวพม่าระบุ

(รูปประกอบ พล.อ.มินอ่องลาย และภริยา สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ออกซ์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ในเมืองตองยี รัฐฉาน จากสื่อของรัฐบาลทหารพม่า Global New Light of Myanmar)

อนึ่ง แม่น้ำสาละวิน ซึ่งไหลจากมณฑลยูนนานสู่รัฐฉาน รัฐคะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง และรัะฐมอญ มีการเสนอและผลักดันโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอย่างน้อย 7แห่ง ในรัฐฉานคือโครงการเขื่อนท่าซาง หรือเขื่อนมายตง (เมืองโต๋น- Mong Ton dam) ที่มีรายงานข่าวว่าผลักดันร่วมกันระหว่างกระทรวงไฟฟ้าพลังน้ำพม่า และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แต่ถูกต่อต้านอย่างหนักจากประชาชน เนื่องจากจะเกิดผลกระทบสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน และจะกระทบต่อ “เมืองพันเกาะ” (Thousand Islands) แม่น้ำป๋าง อันเป็นแม่น้ำที่เป็นเกาะแก่งมากมาย น้ำไหลผ่านนิเวศหินปูน มีสีฟ้าใสสวยงาม และเป็นสถานที่ที่คนจำนวนมากใฝ่ฝันไปเยือน แต่ไม่สามารถเดินทางเข้าได้เนื่องจากความไม่สงบ ส่วนบริเวณพรมแดนไทยพม่า และในรัฐกะเหรี่ยง ล่าสุดมีรายงานข่าวว่าวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีน จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการผันน้ำยวม ของกรมชลประทานไทย และจะเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนและผันน้ำจากแม่น้ำ สาละวิน ซึ่งคาดว่าอาจเป็นโครงการเขื่อนฮัตจี Hat Gyi dam

ด้านเว็บไซต์ข่าวพม่า อิรวดี (The Irrawaddy) รายงานข่าวว่า ประชาชนหลายพันคนต้องอพยพหนีออกจากบ้านในรัฐคะเรนนี (ตรงข้าม อ.ขุนยวม และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน)  หลังจากการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างกลุ่มต่อต้าน และกองกำลังของรัฐบาลทหารพม่า ที่หมู่บ้านใกล้กับเมืองลอยกอ เมืองหลวงของรัฐคะเรนนี การต่อสู้ปะทุขึ้นหลังจากกองกำลังกะเรนนีพยายามหยุดขบวนรถของรัฐบาลทหารพม่าที่มาจากรัฐฉาน  มีรายงานว่าขบวนรถทหารพม่าประกอบด้วยทหารอย่างน้อย 300 นายและรถบรรทุกประมาณ 40 คัน

สำนักข่าวอิรวดีระบุว่าหมู่บ้านดังกล่าวมีประชาชน 4,000 ถึง 5,000 คน ตามคำอ้างจากชาวบ้านที่หนีออกจากบ้านในสัปดาห์นี้

 สตรีคะเรนนีคนหนึ่งที่ขอไม่เปิดเผยชื่อ กล่าวว่ากองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าได้ยิงปืนใหญ่ใส่หมู่บ้านเมื่อวันพุธ และเธอเห็นบ้านเรือนอย่างน้อย 10 หลังถูกกระสุนถล่ม ก่อนที่เธอจะหนีออกจากบ้าน

“คิดว่าคงจะตายหากยังติดอยู่ในบ้าน ตอนนั้นรู้สึกหมดหนทางเมื่อกระสุนปืนใหญ่จำนวนมากตกลงมาที่หมู่บ้านของเรา เราพากันเก็บข้าวของไว้ตอนกลางคืน และรีบหนีออกมาไปตอนเช้าเมื่อทหารพม่าหยุดยิง” สตรีคนดังกล่าวให้สัมภาษณ์แก่อิรวดี และกล่าวอีกว่ายังมีผู้สูงอายุอีกหลายคนที่หนีออกมาไม่ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม พื้นที่หลายแห่งในรัฐคะเรนนีถูกโจมตีโดยกองทัพพม่า ส่งผลให้ประชาชนนับหมื่นคนต้องหนีการโจมตีออกไปซ่อนตัวในป่า และไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมได้เนื่องจากเส้นทางหลักในรัฐคะเรนนีถูกปิดและมีการปะทะและความรุนแรง

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →