Search

ชายแดนแม่ฮ่องสอนยังปะทะเดือด แนะรัฐ 5 ข้อเร่งช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-เมียนมา จ.แม่ฮ่องสอน ได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงสถานการณ์ชายแดนพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยระบุว่ายังคงปรากฏการปะทะกันระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย/กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาบริเวณชายแดนด้านตรงข้ามช่องทางเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียงและช่องทางห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน โดยปัจจุบันมีผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาเข้ามาฝั่งไทย 3,669 คน เข้ามาหลบภัยในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว 2 พื้นที่คือบ้านเสาหินและบ้านพะแข่

ศูนย์สั่งการชายแดนฯ ระบุว่า กองกำลังนเรศวรและฝ่ายปกครองแม่ฮ่องสอน ดำเนินการติดตามสถานการณ์ในฝั่งเมียนมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทย ในขณะที่กองทัพอากาศเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมขึ้นบินลาดตระเวนรบ หากมีอากาศยานรุกล้ำน่านฟ้าไทย

นายพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ตนได้เข้าพื้นที่ในนามศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้หนีภัยสงครามชายแดน เนื่องจากสถานะการณ์ความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านชุมชนฝั่งรัฐคะเรนนีต้องหลบหนีมาเพื่อความปลดภัย ซึ่งทางการไทยได้จัดพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวไว้ที่บ้านเสาหิน และได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม แต่ด้วยสถานการณ์ค่อนข้างฉุกละหุก และมีชาวบ้านหนีมาค่อนข้างจำนวนมาก จึงทำให้การเตรียมพร้อมนั้นเริ่มมีปัญหาหลายด้านในการให้ความช่วยเหลือ ทั้งเรื่องสถานที่ในการรองรับไม่เพียงพอ ด้านการสาธารณสุข อาหาร น้ำสะอาด เป็นต้น เพราะชาวบ้านที่หนีมา มีทั้งเด็กแรกเกิด หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการโดยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

นายพงษ์พิพัฒน์กล่าวว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ทางจังหวัดและปกครอง จะต้องประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กรด้านมนุษยธรรม ในการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเร่งด่วนหรือตั้งกลไกเฉพาะกิจที่มาจากฝ่ายต่างๆ ร่วมบูรณาการในการช่วยเหลือในนามศูนย์เฉพาะกิจ ช่วยเหลือผู้หนีภัยสงครามชายแดน มีข้อเสนอดังนี้

1 ควรมีกลไกประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน เพราะการให้หน่วยงานรัฐบางหน่วยงานรับผิดชอบโดยลำพังทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งเรื่องบุคลากรและงบประมาณ

2 ควรเร่งจัดพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว ที่มีความพร้อม ทั้งสถานที่ สาธารณสุข ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ผู้ลี้ภัยอาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อได้

    3. จัดระบบคัดกรอง เพื่อสะดวกในการจัดระบบโซนอยู่อาศัยที่ปลอดภัย และป้องกันโรคติดต่อ เพราะชาวบ้านมาจากหลายพื้นที่ หลายหมู่บ้าน ต่างครอบครับ มีทั้งคนเจ็บป่วย หญิงมีครรภ์ เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ 4.ควรมีศูนย์ประสานงานในการบริหารจัดการพื้นที่ชั่วคราวที่ชัดเจน เพื่อบริหารจัดการทั่วถึง ทั้งเรื่องการรับบริจาคและความช่วยเหลือในด้านต่างๆ 5.ควรจะมีการขออาสาสมัคร จากหน่วยงานต่างๆ หรือองค์กรที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือ เข้าร่วมด้วยช่วยกันในการบริหารจัดการพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จนกว่าเหตุการณ์จะสงบและชาวบ้านสมัครใจกลับสู่ภูมิลำเนา

    On Key

    Related Posts

    ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

    เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

    ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

    เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

    เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

    เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →

    ลาวดำเนินคดีอดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าลาว-ผู้รับเหมาฐานฉ้อโกงเหตุสร้างเขื่อนไม่แล้วเสร็จ-เกินเวลานาน เผยโครงการได้รับสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย

    เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 สำนักข่าวลาว Laotian TiRead More →