Search

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯได้มีการจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “รัฐ, ไฟป่า และการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานเศรษฐกิจสีเขียว” โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเพื่อสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มช.กล่าวว่า ภาครัฐมักไม่ยอมรับภูมิปัญญาชาวบ้านหรือสิทธิการจัดการทรัพยากร การออกพระราชกฤษฏีกาเกี่ยกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรตาม พรบ.อุทยานฯในมาตรา 64 ทำให้สิทธิของคนที่อยู่กับป่าถูกลิดรอน และกำลังมีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 มีนาคมนี้ ดังนั้นจึงต้องช่วยกันหาทางออกเกี่ยวกับนโยบายรัฐที่ห้ามการเผา เพราะส่งผลกับการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวในไร่หมุนเวียน การห้ามใช้ไฟในเขตป่าต่างๆทำให้เกิดความเดือดร้อนกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก

นายสมชาติ รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านบ้านกลาง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง กล่าวว่า เครียดมาหลายวันนับตั้งแต่ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)จะลงพื้นที่ บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง ในฐานะผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับคำสั่งเพียงอย่างเดียวให้ถ่ายทอดกับพี่น้องคือห้ามเผา ห้ามเข้าป่า

“วิถีของพี่น้องปกาเกอะญอส่วนใหญ่ทำไร่หมุนเวียนหากินของป่าเลี้ยงชีพ วันนี้รัฐออกประกาศทั่วประเทศเหมารวม สถานการณ์พี่น้องเครียดกันหมดเพราะมาตรการสั่งห้ามเผาในหลายพื้นที่พูดถึงการยึดพื้นที่ถ้าเกิดฮอตสปอต (จุดความร้อน) การตัดสิทธิความช่วยเหลือจากภาครัฐนี่เป็นเรื่องที่ชาวบ้านกลัวกันมาก หลายครอบครัวทิ้งพื้นที่ไปอยู่ในเมือง” พ่อหลวงชาติ กล่าว

นายสมคิด ทิตา ผู้ใหญ่บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง กล่าวว่า ปีที่แล้วมีการขออนุญาตจัดการไร่หมุนเวียนทางอำเภอก็ได้ตอบกลับมา แต่ปีนี้ขอไปแล้วแต่ไม่มีคำสั่งใดๆ ชุมชนเครียดมาก ปกติเดือนมีนาคมต้องมีการเผาจัดการวัชพืชบ้างแล้ว แต่ปีนี้ทุกแปลงยังไม่มีการเผา ชาวบ้านมีความเครียดเพราะความมั่นคงทางอาหารไม่รู้ปีนี้จะได้กินหรือเปล่าซึ่งรัฐบาลออกกฎหมายห้ามเผาเด็ดขาด

“เรื่องของไฟ ผมไม่อยากให้มีการเหมารวมว่าห้ามเผาเด็ดขาด ผมคิดว่ามันไม่เป็นธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ป้องกันไฟป่า อย่างไฟป่าชุมชนผมก็มีการทำแนวกันไฟรอบหมู่บ้าน ไฟที่ไม่จำเป็น ไฟที่ไม่ดีเราก็มีการกัน แต่ไฟที่มีประโยชน์จะทำให้เกิดแหล่งอาหารในชุมชนเราต้องใช้ แล้วเราพูดได้เต็มปากว่าเราควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หน่วยงานที่มีอำนาจเขาประกาศแบบเหมารวมเลยว่าห้ามเผานี่คือสิ่งที่ไม่เป็นธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์”นายสมคิดกล่าว

ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่ส้านกล่าวว่า การห้ามเข้าป่าเด็ดขาดใน จ.ลำปาง ประกาศนี้เข้าใจว่าน่าจะเกิดจากเมื่อมีไฟป่าแล้วซึ่งครอบคลุมทุกคนในพื้นที่ เรามีการดูแลทรัพยากรในป่าของแต่วันนี้ประกาศห้ามเข้าป่าเด็ดขาดสืบเนื่องจากมีไฟป่า คิดว่าชุมชนได้รับผลกระทบและมีความหวาดระแวง แนวทางแก้ไขปัญหารัฐบาลควรมีความชัดเจนเพราะรัฐบาลมีระเบียบจากสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งไร่หมุนเวียนก็อยู่ในระเบียบนี้ แต่ไม่เห็นหน่วยงานใดพูดถึงเรื่องนี้เลย ซึ่งคิดว่าน่าจะมีการพูดคุยนำไปสู่การทบทวนของหน่วยงานที่มีอำนาจ

ด้านนายพฤ โอโดเชา ชาวบ้านป่าคาใน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ชนพื้นเมืองเจอปัญหามานานแล้ว น้ำท่วมเขาก็หาว่าเราทำน้ำท่วม เสียงของเราไม่มี กฎหมายเราไม่รู้ พอไฟป่าก็บอกว่าเราทำอีก การทำไร่หมุนเวียนเราจะใช้ไฟแค่ปีละ 3 ชั่วโมง บางครอบครัวใช้แค่ 30 นาทีต่อปีต่อครั้ง เพราะต้องการการฟื้นฟูดิน เราสืบทอดกันมานับพันปีจากการทำเกษตรระบบนี้เอื้อทั้งดินน้ำป่าและเมล็ดพันธุ์ ในนั้นมีพิธีกรรมและความเชื่อด้วย

“เมื่อเขาบอกว่าห้ามใช้ไฟ รัฐบอกห้ามใช้ไฟ มันตัดตอนวิถีของพวกเรา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปางมีชนพื้นเมืองปกาเกอะญอ ต่างทำอาชีพการเกษตรล้วนแต่ใช้ไฟ เรามาคุยกันในพื้นที่ว่ามีไฟป่าและไฟการเกษตร เราขอให้แยกหน่อยเพราะไฟการเกษตรที่เราใช้ มันไม่ได้ลามออกนอกพื้นที่ ชนเผ่าเราสามารถควบคุมไฟได้เพราะมีความรู้ในเรื่องไฟ ส่วนไฟป่าเราก็ไปดับได้เพราะเรารู้จักภูเขา แม่น้ำ ลำธาร ” นายพฤ กล่าว

นายพฤ กล่าวอีกว่าทำไมเขตเมืองจึงมีไฟไหม้เพราะไม่สามารถควบคุมไฟได้ร้อยเปอร์เซ็น เช่นเดียวกันในป่า บางครั้งเกิดฟ้าผ่าและเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดไฟป่าซึ่งก็ไม่มีใครดับได้

ขณะที่นายโสภณ รัตนกูล ชาวบ้านห้วยโก๋ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้เล่าถึงเศรษฐกิจสีเขียวกับการจัดการทรัพยากรว่า เมื่อคิดถึงว่าจะทำเกษตรอะไร อย่างไรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เปลี่ยนจากปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยปลูกอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ข้าวโพด ในอดีตต้องอาศัยยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยที่เป็นสารเคมีซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วย ก็ได้เปลี่ยนแนวคิด

“เริ่มต้นจากการปรับพื้นที่ วิธีคิดการจัดการพื้นที่ของตนเองอย่างระบบ ใช้การปลูกไผ่ ทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นพืชเศรษฐกิจและสร้างรายได้ ต่อยอดไปสู่การเกษตรเชิงท่องเที่ยว จากพื้นที่ 20 ไร่ก็เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกไผ่ 3 ไร่ มะม่วง 1 ไร่น้อยหน่า ใช้เวลา 2 ปี ศึกษาองค์ความรู้ จึงตกผลึกและเรียนรู้” นายโสภณกล่าว
นายโสภณกล่าวว่า เศษวัชพืชจัดการโดยเอามาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ มีการทำผลิตภัณฑ์สินค้า กล้าไผ่เอามาขาย

นายมานพ คีรีภูวดล สส.พรรคประชาชน กล่าวว่า การคอรัปชั่นและการผูกขาดการจัดการทรัพยากร ถ้ายังดำรงอยู่แบบนี้ จะทำให้เกิดวิกฤตสังคมขนาดใหญ่ เพราะอำนาจการตัดสินใจเป็นแบบรวมศูนย์ ไม่มีหลักนิติธรรมนางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาโดยห้ามเผาทั้งหมดเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชาติพันธุ์และเป็นการตอกย้ำถึงอคติ กรณีเกิดฝุ่น PM2.5 มีแหล่งเกิดเนิดจากแหล่งอื่นมากกว่าเการเผาในป่า รัฐควรกระจายอำนาจและงบประมาณให้ท้องถิ่นเข้าไปแก้ไข โดยร่วมมือกันหลายฝ่าย

นางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาโดยห้ามเผาทั้งหมดเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชาติพันธุ์และเป็นการตอกย้ำถึงอคติ กรณีเกิดฝุ่น PM2.5 มีแหล่งเกิดเนิดจากแหล่งอื่นมากกว่าเการเผาในป่า รัฐควรกระจายอำนาจและงบประมาณให้ท้องถิ่นเข้าไปแก้ไข โดยร่วมมือกันหลายฝ่าย

On Key

Related Posts

“โรม”แนะรัฐใช้มาตรการเข้มกับ “ว้า”หลังพบเป็นต้นเหตุสารพันปัญหาทั้งยาเสพติด-ทำเหมืองทองต้นแม่น้ำ-รุกล้ำชายแดน กมธ.ความมั่นคงเตรียมลงพื้นที่เชียงรายสอบข้อเท็จจริงสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก-สาย เตือนระวังชาวบ้านถาม “มีรัฐบาลไว้ทำไม”

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2568 นายรังสิมันต์ โรม ประธาRead More →