Search

อนาถหนูน้อยรอบเหมืองทองป่วย ได้รับสารพิษเกินขนาดต้องย้ายหนี ชาวบ้านทวงเงินกองทุนเพื่อรักษาตัว

 

received_888005654576054
วุฒิพงษ์ ฟังเสนาะ ผู้ป่วยเหมือง

 

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 ชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ได้เข้าพบนายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุมัติงบประมาณในกองทุนประกันความเสี่ยงจากผู้ประกอบการกิจการเหมืองแร่ทองคำ คือ บริษัทอัคราไมนิ่ง รีสอร์สเซส เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยหนักที่อาศัยอยู่รอบเหมืองทองคำ

นางสาวสื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยอาการสาหัสที่ต้องการรักษาตัวทั้งหมด 3 คน คือ 1 นายสมคิด ธรรมพเวช ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง 2 นายวุฒิพงษ์ ฟังเสนาะ อดีตคนงานเหมืองแร่ฯ ที่มีอาการทรุดหนักตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม เป็นต้นมา โดยมีอาการไอรุนแรง ท้องเสีย และมีผื่นขึ้นตามผิวหนังที่เปลี่ยนจากผื่นดำ เทา มีรอยช้ำ เป็นแดงและมีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งมีอาการชาและหายใจลำบาก และ 3 ด.ญ.นวิยา อิงคนินันท์ อายุ 9 ขวบ ที่มีอาการชาตามแขนขา และมีผลตรวจแมงกานีสเกิน ซึ่งนับว่าเป็นผู้ป่วยเด็กรายใหม่ที่มีอาการน่าเป็นห่วง ชาวบ้านจึงต้องการให้ กพร.อนุมัติงบประมาณ โดยส่งงบประกันความเสี่ยงให้กับโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทำการรักษา

“งบที่กพร.อนุมติไปครั้ง แรกคือ 4.7 ล้านบาทนั้น ใช้สำหรับการตรวจ ซึ่งขณะนี้ใช้เบิกจ่ายเพื่อตรวจ 600-700 รายที่ทีมนิติวิทยาศาสตร์ได้ตรวจเลือด งบประมาณส่วนหนึ่งเป็นงบประมาณของฝ่ายวิชาการ แต่งบในส่วนการรักษาผู้ป่วยอาการหนัก ยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณลงไป จึงอยากให้ กพร. ดำเนินการให้ โดยต้องประสานงานกับบริษัทอัคราฯ เพื่อขอเงินไปจ่ายกับโรงพยาบาลที่รักษาโดยตรง ตอนนี้ กพร.ต้องเข้าใจว่า บริษัทไม่มีการมาพูดคุยกับชาวบ้านเลย แม้จะเคยออกข่าวว่ายินดีจะจ่ายเงินให้ชาวบ้านที่ป่วย แต่ยังไม่มีใครได้ใช้เงิน และไม่รู้ว่าเม็ดเงินอยู่ไหน ชาวบ้านทำได้แค่ย้ายออกและยอมรับอาการไปวันๆ อย่างกรณีทับคล้อ ที่มีเด็ก 2 รายมีสารพิษเกินแล้วนั้น ผู้ปกครองตัดสินใจย้ายเด็กไปอยู่จังหวัดนครสวรรค์ เพราะกังวลว่าอาการจะทรุดหนัก“ นางสาวสื่อกัญญา กล่าว

นายสมบูรณ์ กล่าวว่า จริงๆแล้วกพร.ได้ประสานให้ บริษัทอัคราฯ อนุมัติงบประมาณสำหรับการรักษาเร่งด่วนไปแล้ว 5 แสนบาท โดยขณะนี้อำนาจการใช้เงินอยู่ในมือของคณะกรรมการกองทุนประกันความเสี่ยง โดยหนึ่งในคณะกรรมการคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง ดังนั้นให้ชาวบ้านไปประสานงานกับคณะกรรมการในพื้นที่เพื่อของบประมาณดังกล่าวมาใช้ โดยอาจจะส่งรายชื่อผู้ป่วยมาก่อนแล้วเข้ารักษาตัว จากนั้นเอาใบเสร็จมาเบิกกับคณะกรรมการ ส่วนกพร.มีหน้าที่ประสานงานตามคำขอ แต่อยากให้ชาวบ้านได้ใช้งบประมาณ 5 แสนบาทไปก่อน

นายชาติชาย เชิดชื่น ผู้อำนวยการสำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กล่าวว่า ตั้งแต่เหมืองเปิดดำเนินการมา ยังไม่มีการใช้จ่ายเงินในกองทุนประกันความเสี่ยงมากนัก จึงมั่นใจว่า เงินยังมีพอจะทำการรักษา แต่อยากให้ชาวบ้านดำเนินการตามขั้นตอน คือ ใช้เงินทีละก้อน และรายงานชื่อผู้ป่วยเข้ามา จากนั้น กพร.จะทำหน้าที่ประสานงานให้ แต่ทุกรายต้องแจ้งให้ผู้จัดการกองทุนรับทราบ ซึ่งผู้จัดการกองทุนก็คือเจ้าหน้าที่ในบริษัท อย่างไรก็ตามให้ชาวบ้านได้ใช้เงิน 5 แสนไปก่อน จากนั้นหากจะขอเพิ่มก็ทยอยทำเรื่องเข้ามา

——–

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →