Search

21 ลูกเรือประมงไทยกลับจากอินโดฯ พบสารพัดเหตุต้มตุ๋น-เอาเปรียบ ก.ตป.เตรียมเจรจารัฐบาลอิเหนา

received_888141237895829

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม เวลา 20.30 น.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง กทม. ลูกเรือประมงไทยจำนวน 21 คนได้เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย ภายหลังจากไปทำงานในเรือประมงในหมู่เกาะโมลุกกะ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ถูกหลอกลวง ถูกบังคับให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนจนต้องหลบหนีออกจากเรือลำเดิมและกลายเป็น “คนตกเรือ”และ “คนผี”อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศร่วมอำนวยความสะดวก

นายอนุสันต์ เทียนทอง ผู้ตรวจราชการและโฆษกพม.กล่าวว่าพม.ได้รับการระสานจากกรมการกงสุลเกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เรื่องการส่งกลับลูกเรือประมงไทย 21 คนจากเกาะอันบน โดยพม.ได้จัดทีมสหวิชาชีพ อาทิ นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กรมการกงสุล ซึ่งจะแยกเหยื่อผู้เสียหายพร้อมทั้งส่งตัวเข้ารับการคุ้มครองชั่วคราว และจะติดตามช่วยเหลือในการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนส่งตัวกลับภูมิลำเนา

นายสุวัตร จิราพันธ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ได้ยื่นข้อเสนอให้ทางการอินโดนีเซียให้ความร่วมมือในการพิจารณาเอกสารแรงงานก่อนการรับเข้าทำงานตามเกาะต่างๆ รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงให้ตรวจสอบเจ้าของเรือและคนทำธุรกิจประมงให้มีความเข้มงวดในเรื่องการปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อกระทรวงการต่างประเทศตลอดเวลา ทั้งนี้ในในส่วนของลูกเรือประมง 5 คนที่ถูกคุมขังและยังติดอยู่บนเกาะเบนจินานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงาน คาดว่าจะกลับประเทศไทยวันเสาร์หรืออาทิตย์ที่จะถึงนี้

นายสุวัตรกล่าวว่า การเจรจาค่อนข้างยากเพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานผิดกฎหมาย ประเทศไทยเองก็ไม่กล้ารับกลับทั้งหมดเพราะไม่แน่ใจว่าเป็นคนไทยจริงหรือไม่ ส่วนการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ระยะยาวนั้น ต้องคุยกันระดับอาเซียน ซึ่งในการประชุมผู้นำแต่ละครั้งจะมีการเจรจาเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากระบวนการตรวจสอบธุรกิจประมงยังไม่มีความเข้มแข็งพอเพราะการทำงานระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเป็นคนละหน้าที่กัน
received_888141301229156

“การช่วยเหลือลูกเรือประมงครั้งนี้ เราใช้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินโดนีเซียในฐานะประเทศพี่น้องที่สร้างมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ซึ่งในการช่วยเหลือครั้งนี้สถานทูตอินโดให้ความร่วมมืออย่างดี แต่ปัญหาติดอยู่ทีฝ่ายความมั่นคงเพราะกฎหมายของอินโดนีเซียแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน”นายสุวัตร กล่าว

ทั้งนี้เมื่อลูกเรือทั้ง 21 คนมาถึง ทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)ได้ทำการสอบปากคำอยู่ร่วม 2 ชั่วโมงจึงปล่อยตัวออกมา อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของพม.ได้กันตัวลูกเรือทั้งหมดออกไปโดยไม่ยอมให้สื่อมวลชนที่มาดักรอสัมภาษณ์จำนวนมากได้พูดคุยดับลูกเรืองประมงเหล่านี้

อนึ่ง จากเฟสบุคของนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ซึ่งให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ “ตกเรือ” “ประสบความทุกข์ได้ยาก” ณ เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 12 – 27 มีนาคม 2558 พบสถานการณ์ปัญหาของลูกเรือไทย และแรงานข้ามชาติที่อยู่บนฝั่ง และในเรือประมง จากการสัมภาษณ์พูดคุย ทั้งหมดจำนวน 51 คน(รวมถึง 21 คนที่เพิ่งเดินทางกลับครั้งนี้) พบว่า Seaman Book ปลอม (หนังสือประจำตัวคนเรือ) เมื่อแรงงานประมงถูกทำเอกสารแสดงปลอม โดยเอกสารดังการถูกทำขึ้นโดยกระบวนการจัดการคนงานทำงานในเรือ และบางรายมีนายจ้างและผู้ประกอบการร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานประมงตกอยู่ในสภาพดังต่อไปนี้

1. แรงงานถูกบังคับให้ทำงาน แรงงานตกอยู่ในสภาพการถูกบังคับ เรือประมงการมี Seaman Book ปลอม ในเรือประมงพบเอกสาร Seaman Book ปลอม 80% แรงงานประมงไม่สามารถที่จะเดินทางกลับประเทศได้ และเอกสารประจำตัวเช่นบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ของแรงงานประมงถูกไต๋เรือและส่วนนายจ้างเก็บไว้ บางรายถูกโยนทิ้งน้ำ แรงงานประมงต้องทำงานโดยที่ไม่ได้กลับประเทศเป็นเวลายาวนานกว่า 3 ปีขึ้นไป บางรายถูกทิ้งไว้ 5-19 ปี โดยไม่มีสามารถกลับบ้านได้ และไม่สามารถติดต่อทางครอบครัวได้ กระเป๋าสตางค์และเอกสารหาย ไม่มีเงินซื้อโทรศัพท์ และจดจำเบอร์ติดต่อทางบ้านไม่ได้

2. ปัญหาแรงงานที่ถูกค่าหัว (หมายถึงโดนค่าหัวจากนายหน้าส่งคนลงเรือรายหัว ๆ ละ 30,000- 35,000 บาท) แรงงานกลุ่มนี้จะถูกบังคับให้เซ็นสัญญากู้เงิน (นายจ้างเรียกว่าเงินเบิกล่วงหน้า) และต้องทำงานใช้หนี้ เสมือนแรงงานขัดหนี้ แรงงานกลุ่มที่ถูกค่าหัวจะต้องทำงานหนักและไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ทำงานหนักวันละ 20 ชั่วโมง แรงงานกลุ่มนี้ในเรือประมง 100-200 คน ที่เกาะอัมบน มีประมาณ 60-70 % เปอร์เซ็นต์ ในเรือและมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบากที่สุด ไม่มีเงิน และไม่มีหนทางได้กลับบ้าน และบางคนเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านในประเทศไทย บางคนมีสติไม่สมประกอบ และบางรายพิการ และไม่สามารถทำงานหนักในเรือประมงได้ ถูกทำร้ายทุบตี และอาจเสียชีวิตไปแล้ว

3. ปัญหาคนที่ถูกเอาเปรียบและให้ค่าแรงงานไม่เป็นธรรม ถูกทำร้ายทุบตีในเรือ และขอกลับบ้านแต่ไต๋ไม่อนุญาต จนกระทั่งกลายเป็นคนตกเรือ (หมายถึงคนที่มากับเรือ ก. และถูกให้ออกจากเรือ ก. หรือหนีออกมา ต้องเร่ร่อนบนฝั่ง และกลับไปทำงานในเรือ ข. หรือทำงานท่าเรือ เป็นแรงงานที่ไม่มีเอกสาร เร่ร่อนทำงานแลกอาหารบนฝั่ง ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ เพราะไม่มีเอกสารแสดงตัวตน) กลุ่มนี้เร่ร่อนและขอทำงานในเรือประมงที่ขาดคน แต่จะไม่มีโอกาสได้กลับ และไม่มีเอกสาร บางคนอยู่นานถึง 6-15 ปี จำนวนไม่ต่ำกว่า 500 คน

////////////////////////

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →