Search

เวียดนามวันนี้

1

 

ผมเพิ่งมีโอกาสครั้งแรกมาเยือนประเทศเวียดนาม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณปากแม่น้ำโขง และติดตามผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบน เมื่อสัปดาห์ก่อน ย่ำเมืองสำคัญในเวียดนามใต้ ได้แก่ เกิ่นเทอ และโฮจิมินห์ (ไซ่ง่อน) ต้องยอมรับว่า เวียดนามพัฒนาความเจริญได้ทัดเทียมไทย และหลายด้านกำลังแซงหน้า

บ้านเรามีอะไร ที่นั่นมีไม่ต่างกัน จะต่างอยู่บ้าง คือโครงสร้างพื้นฐาน เขายังตามหลังไทยอยู่ 2-3 ช่วงตัว

ห้วงนี้ รัฐบาลเวียดนามเร่งปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการใน 2 เมืองดังกล่าว ทั้งสร้างถนนบายพาส ทางยกระดับ มอเตอร์เวย์ ขยายถนนสายหลักสายรองในตัวเมือง และเชื่อมต่อเมืองเป็น 4 เลน วางระบบท่อประปา ท่อระบายน้ำ ฯลฯ สภาพบ้านเรือนตลอดสองข้างทางจึงเต็มไปด้วยฝุ่นแดง รถราสัญจรไปมาลำบาก

แต่คงอีกไม่นาน นับจากนี้ไปราว 2-3 ปี เมื่อโครงสร้างพื้นฐานสมบูรณ์ขึ้น อุปสรรคสำคัญถ่วงรั้งการลงทุนจากภายนอกน่าจะหมดไป

ทุกวันนี้ เวียดนามมีจุดแข็งเรื่อง “ทรัพยากรมนุษย์” และจุดแข็งเรื่อง “แหล่งผลิตอาหารอุดมสมบูรณ์” บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

แค่ผมได้เห็นได้สัมผัสชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาลที่เคลื่อนไหวไปตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ค้าขาย ประมง และเกษตรกรรม มันช่างหน้าตื่นตาตื่นใจจริงๆโดยเฉพาะการค้าขาย ตลอดสองข้างทาง ทุกคนสามารถค้าขายอะไรก็ได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ค้าขายได้ทุกวิธี เดินขาย แบกขาย ปั้นขาย ถีบขาย ตั้งวางขายได้ทุกหนแห่ง หน้าบ้าน ข้างสวน บนฟุตบาธ ริมถนนหลวง ฯลฯ

เรียกว่า มีคนทำมาค้าขายในทุกระยะ 20 เมตรตลอดสองข้างทาง ผลิตอะไรได้ ปลูกอะไรได้ ทำขนม-อาหารอะไรได้เล็กๆน้อยก็นำออกมาขาย ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังพอเก็บเล็กผสมน้อย ดีกว่าอยู่เปล่าๆไร้รายได้เสริม

คนเวียดนามขยันขันแข็งเอาการเอางานไม่เป็นรองคนชาติใดในอาเซียน

จุดแข็งในแง่ทรัพยากรมนุษย์อีกด้านที่ได้สัมผัสคือ รูปแบบการทำงานเชื่อมโยงปัญญาชนจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ทำงานอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งผู้นำองค์กรบริหารท้องถิ่นในระดับล่าง องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และนักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยในระดับกลาง และเจ้าหน้าที่รัฐในระดับบน
เอ็นจีโอเวียดนามอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ เฉพาะองค์กรด้านแม่น้ำ มีถึง 150 องค์กร มีคณะกรรมการใหญ่ 3 องค์กร ดูแลภาคเหนือ กลาง และใต้ มีเครือข่ายเอ็นจีโอท้องถิ่น 11 องค์กรคอยสนับสนุน

ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้าน คล้ายผู้เชื่อมต่อบนกับล่าง รับฟังเสียงสะท้อน สนับสนุนงานวิจัยไทบ้าน ผลักดันงานของรัฐให้บรรลุเป้าหมาย ต่างจากเอ็นจีโอเมืองไทยที่มักยืนอยู่ตรงข้าม

ส่วนนักวิชาการมหาวิทยาลัยจะเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาด้านต่างๆ นำองค์ความรู้จากการค้นคว้าวิจัยไปช่วยเสริมสร้างการพัฒนาในชุมชน เพิ่มศักยภาพชาวบ้านให้รู้จักใช้ประโยชน์พื้นที่ให้มากที่สุด บริหารจัดการอย่างมีระบบ ส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้ปรับตัวและรับมือกับปัญหาจากการพัฒนาในอนาคต ฯลฯ

 

จุดแข็งบนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง จะว่าในคราวต่อไป

——————–
ภาคภูมิ ป้องภัย
มติชน 7 เม.ย. 58

On Key

Related Posts

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →

ผบ.สส.เร่งหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำกกหลังชุมชนผวาสารพิษเจือปนจากการทำเหมืองทองฝั่งพม่า ภาคประชาชนเผยน้ำกกขุ่นเพิ่มจากปีก่อน 8 เท่าหวั่นกระทบน้ำดิบทำประปา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดีRead More →