Search

พีมูฟยอมถอยหลังประชุม รัฐบาลรับปากได้ข้อสรุปพค.ระบุชัดคนอยู่ก่อนอุทยานทำกินต่อไปได้

received_900984169944869

เวลาประมาณ 17 .30 น. เครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)ได้ทยอยเดินทางกลับบ้านหลังหารือร่วมรัฐบาลนานเกือบ 8 ชั่วโมง โดยภายหลังการยื่นหนังสือตัวแทนประชาชน 30 รายเข้าประชุมร่วมกับนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอประเด็นเร่งด่วนที่ได้ประชุมร่วมกันเมื่อต้นปี 2558 กรณีโฉนดชุมชน ซึ่ง ขปส.เสนอให้ยกระดับสำนักงานโฉนดชุมชนเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย หรืออาจเป็นสำนักงานอิสระ ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าวนั้นที่ประชุมมีมติในวันนี้ว่าอยู่ระหว่างการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เครือข่ายประชาชนที่เข้าร่วมระบุว่าการเจรจาเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น คณะอนุกรรมการโฉนดชุมชน ประชุมหารือให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ได้ตกลงร่วมกันว่าจะยอมเคลื่อนขบวนออกจาก กพ.ก่อน

ทั้งนี้ก่อนการประชุมร่วมกันในเวลาประมาณ 12.30 น ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาล เป็นตัวแทนรัฐบาลรับหนังสือเร่งรัดการแก้ไขปัญหาของขปส. ภายหลังจากตัวแทนประชาชนได้ออกแถลงการณ์ไปแล้วในช่วงเช้าของวันเดียวกัน โดยพลตรีสรรเสริญ ได้รับหนังสือจากตัวแทนภาคประชาชนที่ประสบปัญหาด้านต่างจนครบทุกกลุ่ม อาทิ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทป่าไม้ ตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ตัวแทนชุมชนที่มีข้อพิพาทที่ดินกับเอกชนและอุทยานในภาคเหนือ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ตัวแทนชาวเล และตัวแทนผู้มีปัญหาที่ดินหลังจากเหตุการณ์สึนามี ผู้มีปัญหาเรื่องที่ดินในจังหวัดอุบลราชธานี และเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทป่าไม้ฯ ภาคอีสาน เป็นต้น

พลตรี สรรเสริญ กล่าวว่าแนวทางการทำงานจะเป็นไป 2 แบบ คือการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงและประสานให้นายกฯ เร่งรัดการดำเนินงานอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้หากเกิดปัญหาให้ติดต่อกับตัวแทนรัฐบาลโดยตรง ไม่อยากให้มีการใช้เครื่องขยายเสียง เพราะทุกปัญหามีทางแก้ไข แต่กรณีอุทยานและที่ดินรัฐนั้นขอให้รับรู้ไว้ว่า หากเป็นพื้นที่ที่ประชาชนอยู่ก่อนการประกาศเขตป่า ก็ยังมีสิทธิ์ทำมาหากิน และอยู่อาศัยได้ แต่หากอยู่หลังจากการประกาศเขตป่าทั้งป่าสงวนและอุทยาน ก็ต้องรักษาสภาพป่าไว้ ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันไม่ทิ้งประชาชน โดยจะมีการจัดสรรพื้นที่ให้ตามข้อเสนอของหลายฝ่าย แต่การชุมนุมในสถานการณ์แบบนี้นั้นรังแต่จะทำให้คนนอกมองไม่ดี ควรใจเย็นแล้วมาคุยกัน

นายประยงค์ ดอกลำไย ตัวแทน ขปส. กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วนั้น ประชาชนในกลุ่มเข้าใจดีว่าไม่ควรมีการชุมนุมใช้เครื่องเสียง แต่การมาวันนี้มีจดหมาย มีขั้นตอนทุกอย่าง ไม่ได้ขัดกับมาตรา 44 ขอแค่ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเร่งด่วนก่อน อย่างกรณีธนาคารที่ดินนั้นงบประมาณลงมาตั้งนานที่เคยคุยกันในคณะกรรมการฯเมื่อเดือนมกราคมแล้วนั้น คือทุกคนมีความหวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์ ได้งบประมาณมาทำงาน มาช่วยคนจนที่เรียกร้องมาแล้วหลายรัฐบาล แต่กลับไม่คืบหน้า งบประมาณ160 กว่าล้านที่อนุมัตินั้นไม่มีใครได้ใช้จริง ขณะที่คนทั่วประเทศยังเจอกับทุกข์เดิมๆ การประชุมที่ผ่านมาเหมือนไม่มีความหมาย มติที่ประชุมไม่ได้ใช้ วันนี้จึงขอคำตอบที่ชัดเจน

ด้านนางสาววิลาวัลย์ สุขพันธ์ ประธานชุมชนหาดบางสัก ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า กรณีที่ดินหาดบางสักที่เกิดขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 มีผู้ประสบภัยในชุมชนบางสักหมู่ 7 จำนวนหลายสิบรายยังไม่สามารถเข้าไปอยู่ในที่ดินเดิมได้ ทั้งที่เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว 10 ปี ทำให้ชาวชุมชนบางสักกลุ่มหนึ่งไปเช่าที่บุคคลอื่นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ โดยปัจจุบันมีชาวชุมชนบางสักหมู่ที่ 7 ประมาณ 16 ครอบครัว ที่ยังรวมกลุ่มต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิเข้าไปอยู่อาศัยถิ่นเดิมทีเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์การสร้างที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพค้าขายทั้งชุมชนพียง 7 ไร่ จากพื้นที่ของชุมชนบางสักทั้ง 2 หมู่ ( หมู่ 7 และหมู่ 8 ) ทั้งหมด 64 ไร่ นั้น ตัวแทนชุมชนบางสักได้ร่วมรับฟังการประชุมหารือเมื่อเดือนมกราคม 2558 ร่วมกับหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ซึ่งการหารือครั้งนั้นชุมชนได้นำปัญหา กรณีทีคนอ้างเป็นเจ้าของทั้งรัฐบาลทั้งเอกชน พยายามปักหมุดหน้าร้านค้าชาวบ้านเพื่อเตรียมก่อสร้าง และขอให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และสำนักงานที่ดินจังหวัดให้เร่งรัดเรื่องการทำเอกสารอย่างเป็นทางการให้ชาวบ้านเข้าใช้ประโยชน์ ทว่า ผ่านมาแล้วหลายเดือน สำนักงานที่ดินยังคงปฏิเสธและระบุว่าเอกสารหลายอย่างหายไป ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเคยยื่นเอกสารไว้ก่อนที่จะร้องเรียนกับรัฐบาลหลายครั้ง ทำให้ความขัดแย้งเรื่องที่ดินยังคงอยู่ ซึ่งมาถึงเดือนนี้แล้วรัฐบาลควรจะแก้ไขให้แล้วเสร็จและลงโทษหน่วยงานรัฐที่ไม่ทำตมติรัฐบาลบ้าง

ขณะที่นางฉัตรพร พระอ๊ะ ชาวอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล กล่าวว่า ตนและชาวเลทั้งประเทศขณะนี้ตกเป็นเครื่องมือการพัฒนาที่ต้องรื้อถอนบ้าน แล้วย้ายที่ก่อสร้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า บางรายได้เงินบังคับให้ออก บางรายออกตัวเปล่า อยากให้รัฐบาลทหารใช้กฎหมายในการปราบคนคุกคามพื้นที่ชาวเลด้วย โดยอย่างน้อยระงับการก่อสร้างอาคารทุกประเภทรวมทั้งถนน ในระหว่างที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาชาวเล

//////////////////////////

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →