สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ลำน้ำปิงเหนือเขื่อนภูมิพลแห้งขอด ชาวบ้านเผยเหตุนายทุนหนุนปลูกพืชเชิงเดี่ยว-รุกป่าต้นน้ำ แนะเร่งพูดคุยร่วมกันหาทางออก

received_939023519474267
เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2558 นายจงกล โนนจา ชาวบ้านดงดำ และอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า ในปีนี้ถือว่าหนักที่สุดเพราะตั้งแต่เกิดมาจนอายุ 43 ปียังไม่เคยเห็นน้ำแห่งขนาดนี้ โดยเสาวัดระดับน้ำที่สะพานข้ามแม่น้ำปิงอำเภอฮอด(สถานีอุทกวิทยาบ้ากองหิน)พบว่าระดับน้ำในวันนี้ลดเหลือ 20 เซ็นติเมตร ขณะที่ในภาวะปกติของทุกๆปีในช่วงนี้ระดับน้ำจะอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาก โดยเฉพาะการทำไร่ทำสวนเกษตรที่ต้องสูบน้ำไกลขึ้น บางรายก็ต้องลงทุนขุดบ่อบาดาล

นายจงกลกล่าวว่า นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอฮอดมีระดับน้ำต่ำกว่าทุกปี ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน และต้องมีภาระต้นทุนในการสูบน้ำ ซึ่งนอกจากสาเหตุของฝนทิ้งช่วงยาวนานตั้งแต่ต้นปีแล้ว ปริมาณน้ำเหนือที่ไหลจากต้นน้ำน้อยใหญ่ยังมีปริมาณน้อยกว่าทุกๆ ปีอย่างมาก ลำน้ำบางสายถึงกับแห้งขอด โดยเฉพาะลำน้ำปิงที่ไหลมาจากทางเชียงดาว บางช่วงปริมาณน้ำน้อยมากจนแทบไม่สามารถไหลผ่านได้ ยกเว้นลำน้ำแจ่มที่ยังพอมีน้ำไหลลงมาสมทบบ้างในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว และช่วยให้ระดับของแม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งฝ่ามือ ดังนัเนอนาคตหากมีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำแม่แจ่ม อาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาสู่เขื่อนภูมิพลมีความผิดปกติมากขึ้นอีก

“แม้หน้าเขื่อนจะมีน้ำน้อย แต่ทุกปีเรายังพอมีน้ำจากต้นน้ำไหลมาหล่อเลี้ยงชาวบ้าน แต่ปีนี้แทบจะไม่มีน้ำลงมาสมทบเลย ยังดีที่แม่แจ่มยังพอมีป่าที่สมบูรณ์คอยกักเก็บน้ำไว้ และไหลลงมาถึงแม่น้ำปิงได้บ้าง ไม่งั้นชาวบ้านคงอยู่กันไม่ได้แล้ว เพราะน้ำจากเชียงดาวก็มาไม่ถึง” นายจงกล กล่าว

received_939023512807601

นายจงกล กล่าวอีกว่า ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่าลำน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำลดลงมาก บางห้วยน้ำไม่ไหลมานานหลายปี โดยเฉพาะขุนน้ำดอยคำที่อยู่ในพื้นที่อำเภอหางดงนั้น มีปริมาณน้ำไหลลงแม่น้ำปิงลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่ป่าสงวนกว่า 1,000 ไร่ เพื่อทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งมีนายทุนเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านขยายพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีโดยใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชอย่างรุนแรง จนส่งผลต่อระบบนิเวศและทำให้น้ำที่ไหลจากขุนน้ำดอยคำน้อยลง

นายจงกล กล่าวว่า ต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูปัญหาที่เกิดขึ้นจริงว่า พื้นที่ต้นน้ำมีสภาพเป็นอย่างไร และต้องการให้เกิดพื้นที่กลางสำหรับทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน ให้คนกลางน้ำและท้ายน้ำได้สะท้อนผลกระทบว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะที่คนต้นน้ำจะได้เข้าใจว่าควรทำการเกษตรรูปแบบไหนที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสายน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำปิง

“ต้องเข้ามาดูกันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ต้นน้ำ อยากให้สำรวจข้อมูลเอามาคุยกันว่า การขยายพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ต้นน้ำนั้นมันส่งผลกระทบไปถึงปลายน้ำ น่าจะเอาทุกฝ่ายมาคุยกัน หาจุดที่สมดุล เช่น กำหนดว่า 1 ครัวเรือนควรทำไร่ได้แค่ไหน และจะทำการเกษตรลักษณะไหนที่เหมาะสม ที่ผ่านมาไม่เคยคุยกันได้เข้าใจเพราะมันมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง” นายจงกล กล่าว

ทั้งนี้หมู่บ้านดงดำเป็นพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยชาวบ้านทั้งหมดถูกอพยพจากที่เดิมเมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพลในปี 2507 โดยชุมชนยังคงประสบปัญหาที่ดินทำกินเนื่องจากได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาน้ำขึ้น-น้ำลงเนื่องจากการเก็บกักหรือระบายน้ำโดยไม่มีการแจ้งชาวบ้าน

นายธีรเชษฐ์ โสทอง รองประธานเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ปัญหาฝนทิ้งช่วงในขณะนี้ทำให้ชาวบ้านต้องชะลอการทำนาไว้ก่อน เพื่อรอฝนที่คาดว่าจะตกในอีกไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า แต่หากฝนยังไม่ตกอีกอาจต้องหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร แต่ส่วนระบบน้ำปะปาของหมู่บ้าน ยังไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งนี้ เนื่องจากระดับน้ำของคลองชมภูที่ใช้ผลิตน้ำปะปาหมู่บ้าน ยังอยู่ในระดับปกติและยังสามารถไหลเป็นต้นน้ำลงสู่แม่น้ำน่านต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าไปสังเกตในลำน้ำสาขาของคลองชมภูพบว่ามีบางสายเริ่มแห้งแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นผลความผิดปกติจากฝนที่ทิ้งช่วงยาวนานของปีนี้ สำหรับการป้องกันภัยแล้งในระยะยาว ชาวบ้านเตรียมที่จะสร้างฝายกั้นน้ำในลำน้ำสาขาเพิ่มอีกหนึ่งฝาย หลังจากที่ฝายแรกเพิ่งจะสร้างเสร็จเมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่น่าจะเป็นส่วนช่วยการกักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาไว้ได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
/////////////////

On Key

Related Posts

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →

กองทัพ KNDF-KNPP ยึดพื้นที่รัฐคะเรนนีได้ 90% โดยเฉพาะหลายเมืองติดชายแดนไทย ส่วนทัพโกก้างเริ่มฟื้นฟูเมืองเล่าก์ก่ายหลังสงครามสงบชั่วคราว ขณะที่ทัพอาระกันรุกคืบพื้นที่-กลไกรัฐยะไข่ราชการหยุดทำงาน

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 สำนักข่าว Myanmar Now แRead More →

ชาวบ้านสามพร้าวยื่นหนังสือ 4 หน่วยงาน เผยถูกรัฐขับไล่ออกจากที่ทำกินกว่า 500 ไร่ เตรียมสร้างวิทยาลัยแพทย์ เคยร้องเรียนตั้งแต่ปี 65 ไร้ความคืบหน้า หวังเร่งแก้ปัญหาเยียวยาผลกระทบ

วันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ศาลากลางจังRead More →