Search

นักวิชาการเผยเวทีค.3ยังไม่ตอบโจทย์ ชี้แม้แต่เยอรมันยังหาทางลดการใช้ถ่านหิน ภาคประชาชนยื่นหนังสือสอบวินัยผวจ.สงขลา

received_949907435052542
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังความเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานผลประทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพครั้งสุดท้าย(ค.3)ในโครงการโรงไฟฟ้าเทพา จังสงขลา ขนาด 2,200 เมกะวัตต์ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)จัดขึ้น ว่าในที่ประชุมได้มีผู้ลงทะเบียนแสดงความคิดจำนวน 49 คน โดยให้เวลาคนละ 5 นาที ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายที่สนับสนุน บางรายแสดงความสงสัยและตั้งคำถามแต่สุดท้ายก็เห็นด้วย มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน

“เวทีครั้งนี้แม้ดูสงบเรียบร้อย แต่ผมคิดว่าไม่สมบูรณ์เพราะกลุ่มไม่เห็นด้วยไม่ได้เข้า เนื่องจากก่อนหน้านี้มีหนังสือจากผู้ว่าราชการฯ ออกมา ทำให้พวกเขาคิดว่าไม่สามารถเข้าห้องประชุมด้วย คนที่แสดงความเห็นหลายคนต้องการให้กฟผ.ช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น น้ำดิบ สนับสนุนโรงเรียน ตั้งศูนย์วิจัย หลายคนที่ลุกขึ้นพูดก็เคยเดินทางไปดูงานกับกฟผ.มาแล้ว จริงๆ แล้วหากเป็นธรรมก็ควรให้ข้อมูลทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เลือกให้แต่ด้านดีอย่างเดียว หรือที่บอกว่าถ่านหินมีเทคโนโลยีดี พัฒนาไปไกลแล้ว ก็น่าพูดด้วยว่าพลังงานแสงอาทิตย์ก็มีการพัฒนาไปไกลแล้วเช่นกัน” ดร.สมพร กล่าว

received_949907515052534
ดร.สมพรกล่าวว่า ตนได้ตั้งคำถามในที่ประชุม 1.คนเทพามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ นอกจากถ่านหิน 2.เรื่องความมั่นคงทางพลังงานคืออะไรกันแน่ เพราะถามนักวิชาการบนเวทีว่า การไปซื้อถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียมา หากวันหนึ่งเขาไม่ขาย ยังถือว่าเป็นความมั่นคงอยู่หรือไม่ 3. ตนนำเสนอความมั่นคงทางพลังงานโดยใช้แสงแดด เพราะไฟฟ้าจากถ่านหินต้องขนจากที่อื่น แสดงให้เห็นว่าไม่มั่นคง แต่แสงแดดไม่ต้องไปขน และมาถึงบ้านทุกวัน เพียงแต่ต้องบริหารจัดการ โดยได้อธิบายผลการที่ตนทดลองใช้โซล่าเซลล์ 20 เดือนที่ผ่านมา จนทุกวันนี้สามารถสับคัทเอาท์ลงได้ จากที่เคยจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละ 700 บาท ที่บ้านพ่อแม่ก็เช่นเดียวกัน เคยจ่ายค่าไฟเดือนละ 1,000 บาท ตอนนี้แทบไม่เสียเลย เพราะใช้โซล่าเซลล์

ดร.สมพรกล่าวว่า สิ่งที่ตั้งคำถามในที่ประชุมวันนี้ ยังไม่มีคำตอบ ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ใชเวลา 3 ปี ถึงจัดเวทีค.3 แต่ที่เทพากลับใช้เวลาเพียง 9 เดือน จัดเวทีค.3 ได้ทั้งๆ ที่กำลังผลิตที่โรงไฟฟ้ากระบี่แค่ 800 เมกะวัตต์ แต่ที่เทพา 2,200 เมกะวัตต์ ซึ่งหลังจากที่ตนพูดจบได้มีผู้แทนของกฟผ. 2-3 คนเข้ามาคุยด้วยหลังจากเสร็จสิ้นเวที เพราะคงเห็นว่าตนแสดงความคิดเห็นแตกต่างจากคนอื่น

received_949907528385866

“ผมรู้สึกเสียดายที่เขาเอานักวิชาการระดับศาสตราจารย์มาเพื่อชี้แจง แต่เขากลับบอกแค่ว่าถ่านหินคือถ่านธรรมดา ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับความรู้ขนาดนี้” ดร.สมพร กล่าว

ดร.สมพรกล่าวว่า ที่ประเทศเยอรมันนีขณะนี้ใช้พลังงานถ่านหิน 47 เปอร์เซ็นต์ แต่เขาพยายามลดลง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกแม้แต่จีน ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องเอาถ่านหินมาตอบสนองทุกอย่าง ไม่ใช่พอเห็นจีนใช้ เราต้องใช้บ้าง ขณะนี้ที่เยอรมันนีได้วางแผนว่า ในปี 2015 จะผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 38,000 เมกะวัตต์ ทั้งๆที่เยอรมันมีพื้นที่เล็กและแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยถึง 2 เท่า แต่เขาพยายามทำให้ประเทศสะอาดที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเองก็ได้สอบถามศาสตราจารย์ที่เคยไปเรียนด้วยเกี่ยวกับเรื่องการใช้พลังงานถ่านหิน ซึ่งท่านก็บอกว่าไม่สนับสนุนเลย เพียงแต่ที่เยอรมันนีนั้นในเบื้องต้นยังจำเป็นต้องใช้ แต่เขาพยายามหาทางเลือกอื่น

ขณะเดียวกันในการจัดเวทีค.3 ในวันนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของนายธำรงค์ เจริญกุล ผวจ.สงขลา ที่สั่งห้ามมิให้บุคคลชุมนุมหรือก่อความไม่สงบในบริเวณ อบต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโดยน.ส.ส.รัตนมณี พลกล้า อนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และทนายความศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า การใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ต้องเป็นไปตามมาตรา 4 ประกอบกับหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.เท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมการใช้สิทธิโดยชอบของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ กรณีดังกล่าวจึงไม่น่าถูกต้อง เนื่องจากประชาชนใช้สิทธิตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นก็ไม่ใช่การชุมนุม ดังนั้นชาวบ้านสามารถรักษาสิทธิด้วยการฟ้องร้องได้

ขณะเดียวกันตัวแทนชาวบ้านในนามเครือข่ายสงขลา-ปัตตานีไม่เอาถ่านหิน ได้ยื่นหนังสือศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เรียกร้องให้สอบวินัย ผวจ.สงขลา เนื่องจากใช้อำนาจการปกครองอันมิชอบ จากพฤติกรรมออกคำสั่งข่มขู่ใส่ร้ายผู้เห็นต่างกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา นอกจากนี้ ยังขอให้ตรวจสอบการดำเนินโครงการของบริษัทเอกชนและขอให้ยุติการดำเนินการที่จะนำไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งให้ กฟผ.ยุติการโฆษณาชวนเชื่อ สร้างความแตกแยกในพื้นที่

ด้านนายอนุชาติ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ยืนยันว่าไม่มีการปิดกั้นผู้ที่เห็นต่าง แต่เนื่องจาก อ.เทพา เป็นพื้นที่ความมั่นคง จึงต้องตรวจสอบผู้เข้าร่วมเวทีอย่างเข้มข้น ขณะนี้โครงการอยู่ในขั้นศึกษาเท่านั้น และ กฟผ.ก็ทำตามแผนพีดีพี (แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า) ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐ ยืนยันว่าล้มเลิกโครงการไม่ได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่สนับสนุน

———-

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →