สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

กำลังใจหนุนเนื่องชาวบ้านทุ่งป่าคา ชี้แม่ฮ่องสอนเกือบยกจังหวัดอยู่ในเขตอนุรักษ์ หากเอาผิดจริงคุกไม่พอขังแน่-แนะใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่

Screenshot_2015-08-22-19-53-12
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่วัดแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เครือข่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.) พร้อมองค์กรภาคีเครือข่าย ประมาณ 100 คนได้ร่วมกันจัดทำผ้าป่าสามัคคี เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือครอบครัวชาวบ้านทุ่งป่าคา อำเภอแม่ลาน้อย ที่ถูกตัดสินโทษจำคุกกว่า 20 คนจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล

ทั้งนี้ภายในงานได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์ระหว่างชุมชนกับเครือข่ายที่เดินทางมาให้กำลังใจ โดยประเด็นหลักคือ จะทำอย่างไรให้คนจนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดย นายบุญยืน คงเพชรศักดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน กล่าวว่าพื้นที่แม่ฮ่องสอนอยู่ในเขตอนุรักษ์เกือบทั้งจังหวัด โดยร้อยละ 80 เป็นพื้นที่ป่าใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ และมีชาวปกาเกอะญอเยอะที่สุด และความจริง ปกาเกอะญอเป็นกลุ่มที่ดูแลจัดการป่าได้ดีที่สุด มีการแบ่งพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ใช้สอย พื้นที่ทำกิน ป่าต้นน้ำ มีการวางระเบียบข้อบัญญัติไว้อย่างชัดเจน

received_961581663885119
“เรามีเครือข่ายอนุรักษ์ทั้งหมด 21 เครือข่าย รวมกันเป็นเครือข่ายใหญ่ในชื่อ เครือข่ายอนุรักษ์และจัดกาทรัพยาการธรรมชาติ แต่กรณีของทุ่งป่าคานั้น ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายจึงทำให้ช่วยเหลือกันไม่ทัน เพราะเครือข่ายอนุรักษ์เรามีการการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสถานการณ์ตลอด” นายบุญยืน กล่าว

นายบุญยืนกล่าวว่า การรวมตัวกันทุกหมู่บ้านมีการทำระเบียบชุมชน แล้วมีการร่วมการร่างเป็นข้อบัญญัติตำบลในการดูแลจัดการป่า และทางจังหวัดก็ได้รับรองข้อบัญญัติ ความจริงแล้วจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เพราะ เมื่อ11พฤษภาคม พ.ศ. 2542 แต่ละอำเภอให้มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่ทำกินและอาศัยที่อยู่ในเขตป่า ซึ่งมีมากถึง 4 แสนกว่าไร่ของทั้งจังหวัด และมีการออกหางบัตรไว้ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งนี่เป็นเอกสารแจ้งสิทธิได้

นายศรแก้ว ประจักษ์เมธี นายก อบต.แม่ลาหลวง กล่าวว่า ตนอยู่นี่มา 40 กว่าปี ไม่เคยเห็นการไล่ค้นไม้ทำบ้านเป็นหลังๆ มาก่อน กรณีทุ่งป่าคานี้เป็นครั้งแรก ในฐานะที่เป็นตัวแทนจากชุมชน เราก็พยายามเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรากลับมาคิดว่าต้องทำกันขนาดนี้เลยหรือ ซึ่งการทำงานกับชุมชนในแม่ฮ่องสอน ถ้ายึดหลักนิติศาสตร์อย่างเดียวคุกคงไม่มีพอขังแน่ เพราะเราอยู่ในเขตป่าเกือบทั้งจังหวัด แต่การทำงานที่นี่ต้องยึดหลักรัฐศาสตร์ด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นเราก็เห็นใจพี่น้องทุ่งป่าคา

“เราอาจรู้เท่าไม่ถึงการกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่วิถีของเราคือทำไร่ทำนา ได้เงินมาหมื่นสองหมื่นก็ค่อยๆ ซื้อไม้ไว้เก็บทำบ้าน แต่การเข้าไปจับไม้ในครั้งนี้ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีการแยกแยะระหว่างชาวบ้านกับนายทุน ถ้าจะถามว่าผิดไหม ผมก็อยากทราบว่าบ้านไม้หลังใหญ่ๆ ที่สร้างในเมืองหรือกรุงเทพฯไม้ไปได้อย่างไร” นายศรแก้ว กล่าว

นางเตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาพื้นที่สูงและเขตภูเขา(พชภ.) อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยนั้น เป็นระบบการกล่าวหา ถ้าได้อ่านคำพิพากษาเป็นเรื่องที่สะเทือนใจมาก เพราะพี่น้องถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกและทำลาย ดังนั้นพวกเราเห็นว่าเรื่องนี้ควรจะมีการถวายฎีกา กรณีของทุ่งป่าคาอาจเป็นกรณีตัวอย่างของคนที่อยู่กับป่า เราเคารพในการตัดสินของศาล แต่สิ่งที่เราต้องการรู้คือกระบวนการยุติธรรมที่เกิดกับชาวบ้านทุ่งป่าคาก่อนไปถึงศาลนั้นมีกระบวนอย่างไร

นายนันทนันท์ เชิงบรรพต หนึ่งในชาวบ้านทุ่งป่าคากล่าวว่า ในฐานะที่อยู่ในพื้นที่มานาน ก็เห็นด้วยในการจัดการพื้นที่แต่ถ้าหน่วยงานทำแล้วชาวบ้านได้ประโยชน์เรื่องที่ดินทำกิน เราก็ขอสนับสนุน อีกอย่างการที่ชุมชนเราออกข่าวเช่นนี้ ชาวบ้านต่างอับอาย เพราะจริงๆ แล้วเราก็อยากอยู่อย่างสงบ รวมถึงบางคนก็บอกว่าทุ่งป่าคาเป็นต้นเหตุของปัญหาของจังหวัด แต่วันนี้ดีใจที่เห็นพี่น้องมาให้กำลังใจ ที่ผ่านมาการอนุรักษ์เราก็ทำมาตลอดตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่เราไม่ได้ทำออกสื่อ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราไม่มั่นใจต่อสิ่งต่างๆ เช่น วันหนึ่งเกิดไฟป่าแล้วเอาไม่อยู่จะมีการเข้าไปจับชาวบ้านหรือไม่ เพราะไม่มั่นใจต่อหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ขอเพียงให้ลูกหลานได้อยู่กับป่าที่เราพึ่งพาอาศัยมานาน

ทั้งนี้ในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ชุมชนต้องทำการจัดทำข้อบัญญัติร่วมกัน โดยถ่ายทอดภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นให้เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ในวันที่ 23 เวลา 09.00 น.ทั้งหมดจะร่วมกันจัดพิธีทอดผ้าป่าขึ้นที่วัดแม่ลาหลวง

////////////////////////

On Key

Related Posts

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →

รัฐคะเรนนียังรบกันเดือด โฆษก IEC เผยฝ่ายต่อต้านยึดพื้นทางทหาร SACได้เกือบหมด-ปิดล้อมบอลาเค-ผาซอง ส่วนสู้รบในเมืองเมียวดีกองกำลังชาติพันธุ์รุมสกัดขบวนทหารพม่าเสริมทัพ

v เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 นายบันยา (Banya) โฆษกRead More →