Search

ลงพื้นที่ตรวจแนวเขตสุสานชาวเลถูกรุก พลเอกสุรินทร์สั่งกรมที่ดินตรวจสารบบ แนะเร่งทำเป็นเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

10834009_967368943306391_191738522_n

เมื่อวันที่ 2 กันยายน พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน ที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบขอบเขตพื้นที่สุสานชาวเลในจังหวัดกระบี่และพังงาซึ่งมีการร้องเรียนว่าถูกบุกรุกมาก 15 แห่ง ว่าในการเดินทางไปที่เกาะลันตาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการส่อเจตนาบุกรุกสุสานของเอกชน เนื่องจากสุสานของชาวเลมักไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน จึงเป็นโอกาสให้มีการบุกรุกจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้สั่งการให้มีการสำรวจขอบเขตสุสานและทำประวัติชุมชน ขณะเดียวกันการที่เอกชนอ้างเอกสารสิทธิ์ก็ต้องมีการตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยกรมที่ดินต้องเอาสารบบมาพิจารณาให้ชัดเจนแล้วส่งให้คณะกรรมการฯ

“บางแห่งที่ลันตา เราเห็นได้ชัดว่าเป็นพื้นที่ลาดชันแต่เอกชนสามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้และมีเจตนาปักหลักรุกเข้ามาในสุสานชาวเลทั้งๆที่บริเวณดังกล่าวเมื่อไล่ประวัติดูแล้วอยู่กันมาตั้งแต่ก่อนปี 2433 เรื่องนี้ทางอำเภอต้องไปสำรวจดู” พลเอกสุรินทร์ กล่าว

พลเอกสุรินทร์กล่าวว่าส่วนปัญหาสุสานชาวเลที่จังหวัดพังงานั้น มีปัญหาน้อยกว่าเพราะส่วนใหญ่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง(น.ส.ล.)ไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบมากมายเหมือนที่เกาะลันตา เพียงแต่เกิดความขัดแย้งเรื่องการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งที่สุสานบ้านทุ่งหว้า สุสานปากวีป โดยต้องมีการแบ่งสรรกันใช้ด้วยความสามัคคีซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอ

“ทุกวันนี้ที่มีการบุกรุกสุสานขาวเลกันมากเพราะสุสานแต่ละแห่งมีขอบเขตไม่ชัด ขณะที่การพัฒนารุกคืบทุกวัน ทำให้ที่ดินมีราคาแพง และเกิดการบุกรุกทุกๆที่ ไม่เว้นแม้แต่ที่สุสาน เพราะชาวเลถูกมองเป็นพลเมืองชั้น 2-3 มาโดยตลอด ทั้งๆที่หากไม่มีพวกเขา เส้นเขตแดนของประเทศไทยจะไม่เป็นเช่นนี้หรอก” พลเอกสุรินทร์ กล่าว

ด้านนางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า สุสานชาวเลมากกว่า 15 แห่งที่ถูกบุกรุก ควรมีการจัดทำเป็นเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมให้ชัดเจนซึ่งอาจจะมากกว่าเรื่องสุสานและพื้นที่พิธีกรรม โดยควรลงลึกไปถึงเรื่องการทำมาหากินในทะเลด้วย ซึ่งได้มีการปรึกษากับอุทยานฯแล้ว มีความคืบหน้าไปมาก ขณะที่การแก้ไขปัญหาสุสานถูกบุกรุกในหลายแห่ง ยังอยู่ในสภาวะที่แก้ไขได้ ไม่เหมือนกับอีกหลายแห่งที่ถูกสร้างโรงแรมทับไปแล้ว ดังนั้นจึงควรสำรวจและแก้ไขร่วมกัน สิ่งที่สำคัญคือการเคารพและการยอมรับความมีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในพื้นที่อันดามัน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากไม่แก้ไขจะเกิดความขัดแย้งระยะยาวได้

 

11992500_967368939973058_363639121_n

“เรื่องสุสานต้องมีการสำรวจทำขอบเขตและออกเอกสารให้เกิดความชัดเจน กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นควรกันแนวพื้นที่สุสานให้ชัด เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกได้อีก หรือบางพื้นที่ก็ควรเป็นแหล่งใช้ประโยชน์ร่วมกัน” นางปรีดากล่าว

นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานสภาชาติพันธุ์ชาวเลและเครือข่ายชาวเลอันดามัน กล่าวว่า สาเหตุที่มีการบุกรุกสุสานชาวเลมากเพราะเมื่อที่ดินริมทะเลอันดามันแพงไปหมดทุกที่เหลือเพียงที่ดินสุสานชาวเลเท่านั้นที่ยังคงเป็นพื้นที่ป่าและไร้เสียง แม้จะถูกบุกรุก ชาวเลก็มักเลือกที่จะไม่พูด เพราะพูดมากไปก็อาจตายได้ เช่น การถูกยิงเสียชีวิตของชาวมอแกลนบ้านหินลาด ที่สำคัญคือสุสานชาวเลไม่ได้มีระเบียบรองรับเหมือนสุสานคนจีนหรือสุสานมุสลิม ซึ่งที่ผ่านมาใครคิดจะขุดสุสานชาวเลก็ทำกันได้ตามอำเภอใจโดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของชาวเล

“สุสานหลายพื้นที่เขาล้างป่าช้ากันโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ญาติพี่น้องชาวเลทราบเลย ความรู้สึกเช่นนั้นมันกดทับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนชาวเลจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าไม่น่าเกิดมาเป็นชาวเลเลย สังคมบีบคั้นจนทำให้คนรุ่นใหม่มุ่งไปที่สังคมใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นที่ยอมรับมากที่สุด แต่ลึกๆแล้วในใจพวกเขารู้สึกว้าเหว่”นายวิทวัส กล่าว

นายวิทวัสกล่าวว่า ความต้องการของชาวเลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุสานนั้นคือ 1.อยากให้พื้นที่เป็นป่าเหมือนเดิม ไม่ใช่ถูกนำไปดัดแปลงทำอย่างอื่น เช่น การท่องเที่ยว 2.ต้องไม่มีการสร้างรั้วหรือกำแพงปิดล้อม แต่ควรใช้รั้วธรรมชาติ เช่น แนวต้นไม้ เพราะชาวเลรู้สึกว่าการสร้างกำแพงเหมือนกับการการคุมขัง ขณะที่วิถีชีวิตของชาวเลคือรักอิสระ 3.ควรมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลสุสาน ซึ่งอาจใช้คณะกรรมการชาวเลประจำจังหวัด

//////////////

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →